บทคัดย่อ
เนื่องจากสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 14 ในปี พ.ศ.2564 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ดังนั้นเพื่อให้การดูแลผู้สูงอายุ และ/หรือ การดูแลผู้ป่วยสูงอายุ ให้มีสุขภาพดี ควบคุมอาการของโรคที่เป็นได้ นอกจากการรักษาด้วยยาแล้วการดูแลเรื่องภาวะโภชนาการ ชนิดของสารอาหาร ปริมาณ สัดส่วนอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุแต่ละรายมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้ร่างกายได้รับโภชนาการที่ดี ส่งเสริมให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรงต่อสู้โรคภัยไข้เจ็บโดยเฉพาะกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น ได้ดีมากขึ้น ดังนั้นการให้คำแนะนำเรื่องโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องส่งเสริมให้การรักษา การดูแลผู้สูงอายุเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านโภชนาการซึ่งจัดเป็นความรู้ที่จำเป็นที่จะช่วยส่งเสริมการรักษาดูแลสุขภาพแบบที่ไม่ใช้ยาอีกทางสำหรับเภสัชกรชุมชนที่ทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุที่มารับบริการ