ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
ขนาดตัวอย่างสำหรับการทดลองเชิงเปรียบเทียบทั่วไป (Sampling Sizes for Simple Comparative tests)
ชื่อบทความ ขนาดตัวอย่างสำหรับการทดลองเชิงเปรียบเทียบทั่วไป (Sampling Sizes for Simple Comparative tests)
ผู้เขียนบทความ รศ.ดร.ภก.เพียรกิจ แดงประเสริฐ
สถาบันหลัก วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
รหัสกิจกรรม 1012-1-000-002-12-2563
ผู้ผลิตบทความ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 31 ธ.ค. 2563
วันที่หมดอายุ 30 ธ.ค. 2564
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 4 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
การเลือกขนาดตัวอย่าง (sample size) เพื่อใช้สำหรับการทดลองเชิงเปรียบเทียบทั่วไป (simple comparative tests) เพื่อเปรียบเทียบผลการทดลองว่าแตกต่างจากค่าที่กำหนดเป็นมาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญมากหรือน้อยเพียงใด จำเป็นต้องอาศัยหลักสถิติความน่าจะเป็น (probability) ช่วยในการคำนวณหาขนาดของตัวอย่างที่มีจำนวนที่เหมาะสม เพื่อประกันได้ว่าสามารถแปลผลการทดลองได้อย่างแม่นยำ ที่ระดับความน่าจะเป็นที่มีค่าสูงพอตามที่กำหนดขึ้น ถ้าต้องการความแม่นยำในการเปรียบเทียบผลการทดลองมากขึ้น ก็จำเป็นต้องใช้ขนาดตัวอย่างจำนวนมากขึ้น การใช้หลักสถิติความน่าจะเป็น สามารถช่วยในการกำหนดจำนวนตัวอย่างที่ต้องการให้มีขนาดน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ที่จะทำให้การแปลผลการทดลองมีความน่าจะเป็นสูงสุดตามต้องการ ขนาดของตัวอย่างที่กำหนดขึ้นจะมีจำนวนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับความน่าจะเป็นที่ต้องการให้การแปลผลมีความแม่นยำ ตลอดจนค่าของความแตกต่างที่กำหนดขึ้นว่าถ้าเกินกว่านี้ถือว่ามีนัยสำคัญ (practically significant difference) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ของประชากร ที่ทำการตรวจวัดซึ่งถือว่ามีการกระจายตัวแบบปกติ (normal distribution) บทความนี้กล่าวถึงวิธีการคำนวณหาขนาดตัวอย่างสำหรับการทดลองเชิงเปรียบโดยทั่วไป โดยอธิบายถึงที่มาของสูตรที่ใช้ในการคำนวณหาขนาดตัวอย่าง และตัวอย่างของการนำสูตรดังกล่าวไปใช้ในการทดลองเชิงเปรียบเทียบในกรณีต่าง ๆ
คำสำคัญ
ขนาดตัวอย่าง การทดลองเชิงเปรียบเทียบทั่วไป ความน่าจะเป็น