ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
การพัฒนาระบบยาด้วยวิจัยเชิงปฏิบัติการ : กรณีตัวอย่างการพัฒนาระบบป้องกันการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ซ้ำในโรงพยาบาล
ชื่อบทความ การพัฒนาระบบยาด้วยวิจัยเชิงปฏิบัติการ : กรณีตัวอย่างการพัฒนาระบบป้องกันการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ซ้ำในโรงพยาบาล
ผู้เขียนบทความ ภญ.ปภัสรา วรรณทอง, ภญ.นุศรา เลื่องชัยเฉวง
สถาบันหลัก สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
รหัสกิจกรรม 5002-1-000-004-12-2563
ผู้ผลิตบทความ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 29 ธ.ค. 2563
วันที่หมดอายุ 28 ธ.ค. 2564
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงปฏิบัติการ หรือ action research เป็นงานวิจัยที่ศึกษาไปข้างหน้า มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขปัญหา พัฒนา ปรับปรุงสิ่งเดิมให้เกิดประสิทธิภาพ หรือประสิทธิผลสูงสุด โดยใช้กระบวนการดำเนินการศึกษาอย่างเป็นระบบ และต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงานนั้นๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางการดำเนินการ และผลของการศึกษา โดยขั้นตอนการดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก ตามวงจรของ Kemmis และ Mc Taggart คือ ขั้นตอนการวางแผน (planning) การปฏิบัติ (action), การสังเกต (observing) และการสะท้อนกลับ (reflecting) ในปัจจุบันมีการนำกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มาใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในงานบริการเภสัชกรรม การจัดการระบบยา หรือนำมาใช้เพื่อพัฒนางานเภสัชกรรมมากยิ่งขึ้น เนื่องจากกระบวนการนี้สามารถแก้ไขปัญหาหน้างานที่เภสัชกรประสบได้เป็นอย่างดี บทความนี้ ยกกรณีศึกษาการใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการในการพัฒนาระบบป้องกันการแพ้ยาซ้ำในโรงพยาบาลเป็นตัวอย่างในการนำไปใช้ ซึ่งสามารถพัฒนาระบบยาได้ ดังนั้น ผู้เขียนจึงเห็นว่าเภสัชกรควรทราบถึงกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในวิธีแก้ปัญหา หรือพัฒนาระบบยาในโรงพยาบาลต่อไป
คำสำคัญ
งานวิจัยเชิงปฏิบัติการ, action research