ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
เอนไซม์กับงานทางเภสัชกรรม (Enzyme and Pharmaceutics) ตอนที่ 2: ยาที่มีกลไกการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ (Part 2: Enzyme Inhibitors Derived Drugs)
ชื่อบทความ เอนไซม์กับงานทางเภสัชกรรม (Enzyme and Pharmaceutics) ตอนที่ 2: ยาที่มีกลไกการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ (Part 2: Enzyme Inhibitors Derived Drugs)
ผู้เขียนบทความ รศ.ดร.ศักดา ดาดวง
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รหัสกิจกรรม 1005-1-000-001-12-2563
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 28 ธ.ค. 2563
วันที่หมดอายุ 27 ธ.ค. 2564
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
การศึกษาตัวยับยั้งของเอนไซม์ ทำให้ทราบกลไกการออกฤทธิ์ของสารเคมีต่าง ๆ ต่อเซลล์และร่างกาย และยังเป็นเครื่องมือที่ดีในการศึกษากลไกการทำงานของเอนไซม์ในรายละเอียด การยับยั้งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การยับยั้งแบบผันกลับได้ และการยับยั้งแบบผันกลับไม่ได้ สำหรับการยับยั้งแบบผันกลับได้ ยังแบ่งตามบริเวณที่เข้าจับของสารตั้งต้นบนเอนไซม์ ได้เป็น 2 แบบ คือ จับบริเวณเดียวกับสารตั้งต้น เรียกว่า การยับยั้งแบบแข่งขัน (competitive inhibition)และจับกันคนละบริเวณกับสารตั้งต้น เรียกว่า การยับยั้งแบบไม่แข่งขัน (uncompetitive หรือ noncompetitive inhibition) ซึ่งการยับยั้งแบบไม่แข่งขัน มักจะเป็นความสามารถในการเปลี่ยนโครงรูปของเอนไซม์ หรือกระทบต่อจลนศาสตร์ของเอนไซม์ การยับยั้งแบบผันกลับได้ ตัวยับยั้งจะสร้างพันธะโควาเลนต์ (covalent bond) กับเอนไซม์ แล้วนำไปสู่การยับยั้งเต็มที่อย่างรวดเร็ว การยับยั้งแบบผันกลับได้ จึงสามารถผันกลับให้เอนไซม์กลับมาทำงานตามปกติได้ โดยการเจือจางเพื่อลดความเข้มข้นของตัวยับยั้งหรือการขจัดตัวยับยั้งด้วยวิธีการทางไดอะลิซิส (dialysis) การยับยั้งแบบผันกลับได้มีสองรูปแบบย่อยคือ การยับยั้งแบบแข่งขัน และการยับยั้งแบบไม่แข่งขัน
คำสำคัญ
ตัวยับยั้งของเอนไซม์, Enzyme