ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
PLATELET FUNCTION TEST
ชื่อบทความ PLATELET FUNCTION TEST
ผู้เขียนบทความ นศภ.ภัคพล มโนยุทธ
สถาบันหลัก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
รหัสกิจกรรม 5001-1-000-004-12-2563
ผู้ผลิตบทความ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 30 ธ.ค. 2563
วันที่หมดอายุ 29 ธ.ค. 2564
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
Platelet หรือ เกล็ดเลือดของมนุษย์มีบทบาทบาทสำคัญในกระบวนการแข็งตัวของเลือด การซ่อมแซมความเสียหาย กระบวนการป้องกันตนเองของมนุษย์ และยังมีหน้าที่ในการป้องกันการแพร่กระจายของเนื้องอกไปยังบริเวณต่างๆ นอกจากนี้เกล็ดเลือดยังทำงานร่วมกับเซลล์อื่นๆที่เกี่ยวกับกระบวนการอักเสบ เช่น เซลล์เมดเลือดขาว เซลล์ผนังหลอดเลือด กล้ามเนื้อเรียบ เป็นต้น ดังนั้นจึงต้องมีการทดสอบความสามารถในการทำงานของเกล็ดเลือด ขั้นตอนแรกของการแข็งตัวของเลือดเป็นกระบวนการที่เกิดระหว่างเกล็ดเลือดและผนังหลอดเลือด ณ บริเวณที่ได้รับความ เสียหายจะมีการกระตุ้นการทำงานของเกล็ดเลือดให้เกิดการยึดติด เกาะติด การเปลี่ยนรูปร่าง ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะก่อให้เกิดก้อนเลือดอุดกลั้นบริเวณที่ได้รับความเสียหายเพื่อลดปริมาณการสูญเสียเลือด หากปริมาณของเกล็ดเลือดในร่างกายมีน้อยก็จะส่งผลให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะสูญเสียเลือดเพิ่มขึ้น (Bleeding) แต่ถ้าหากปริมาณของเกล็ดเลือดในร่างกายมีมากเกินไปก็จะส่งผลให้โอกาสที่จะเกิดโรคทางหลอดเลือดสมองและหัวใจเพิ่มขึ้นเช่น โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน (Stroke) กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด(Myocardial infraction) จากปัญหาข้างต้นที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าการทำงานผิดปกติของเกล็ดเลือดเกิดมาจากหลายสาเหตุ เช่น จากพันธุกรรม จากการใช้ยา จากอาหารการกิน พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่แตกต่าง เป็นต้น การพิจารณาคุณสมบัติของเกล็ดเลือดของแหล่งรับบริจาคเลือดที่นำไปใช้ในทางคลินิก จึงประกอบไปด้วยหลายข้อ เช่น ความเข้มข้นของเกล็ดเลือด วิธีการเจาะเก็บเลือดที่รับบริจาค และความสามารถในการทำงานของเกล็ดเลือดของผู้บริจาค
คำสำคัญ