ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
BACTERIAL CONTAMINATION OF BLOOD COMPONENT
ชื่อบทความ BACTERIAL CONTAMINATION OF BLOOD COMPONENT
ผู้เขียนบทความ นศภ.ศุภาพิชญ๋ ยุทรการ
สถาบันหลัก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
รหัสกิจกรรม 5001-1-000-003-12-2563
ผู้ผลิตบทความ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 30 ธ.ค. 2563
วันที่หมดอายุ 29 ธ.ค. 2564
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 พบว่าโลหิตและส่วนประกอบโลหิตที่ได้รับบริจาคมามีการปนเปื้อนจุลชีพและถ่ายทอดไปยังผู้รับโลหิตเป็นจำนวนมาก1 โดยเฉพาะเกล็ดเลือดซึ่งต้องเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่ ในขณะที่เม็ดเลือดแดงจะเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส ซึ่งมีเพียงแบคทีเรียไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่สามารถเจริญเติบโตที่อุณหภูมินี้ได้ นอกจากนี้การตอบสนองต่อการติดเชื้อของผู้ป่วยยังมีความแปรปวนสูง เพราะแต่บางรายแสดงอาการอย่างรุนแรง แต่บางรายกลับไม่แสดงอาการ ซึ่งต้องมีมาตรการในการจัดการกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นนี้ ทั้งการตรวจวัดและการลดปริมาณแบคทีเรีย โดยปัจจุบันมีการตรวจวัดแบคทีเรีย แต่ก็ยังมีข้อจำกัดมีดหลายประการ เช่น ปริมาณแบคทีเรียที่เหมาะสมสำหรับการตรวจวัด ระยะเวลาการเติบโตของแบคที่เรีย และแบคที่เรียมีความหลากหลายทำให้การตรวจวัดแบคทีเรียทุกชนิดเป็นไปได้ยาก ในปี 1976 ถึง 1985 FDA ของสหรัฐอเมริการายงานพบการติดเชื้อเสียชีวิตจากการได้รับเลือดถึง 256 ราย โดยร้อยละ 10 ของจำนวนนี้สาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย2 ต่อมาในปี 1986 ถึง 1991 มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากการได้รับเลือดคิดเป็นร้อยละ 163 ในปี 1998 ถึง 2000 มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากการได้รับเลือดในสหราชอาณาจักรร้อยละ 344 และในปี 1996 ถึง 1998 ยังมีรายงานว่าเจอผู้ติดเชื้อ 1 ใน 12 เสียชีวิต5 จากข้อความที่กล่าวมาข้างต้นพบว่าปัญหาการติดเชื้อจุลชีพจากการได้รับโลหิตเป็นปัญหาใหญ่ที่มีมายาวนาน จากสถิติการติดเชื้อจากการได้รับเลือด ผู้ติดเชื้อจากแบคทีเรียมีจำนวนสูงกว่าผู้ติดเชื้อไวรัส ทำให้ในหลายประเทศออกมาตรการในการป้องกันและตรวจวัดการปนเปื้อนของโลหิตที่ได้รับบริจาคมา รวมถึงศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยด้วยเช่นกัน เพื่อให้โลหิตที่ส่งต่อไปยังผู้ป่วยมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยมากที่สุด
คำสำคัญ