ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
ตำแหน่งการออกฤทธิ์และเภสัชวิทยาของยารักษาโรคไวรัสโคโรนา 2019 Drug targets and pharmacology for treatment of Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)
ชื่อบทความ ตำแหน่งการออกฤทธิ์และเภสัชวิทยาของยารักษาโรคไวรัสโคโรนา 2019 Drug targets and pharmacology for treatment of Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)
ผู้เขียนบทความ รศ.ดร.ภญ. วิลาสินี หิรัญพานิช ซาโตะ
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-1-000-019-12-2563
ผู้ผลิตบทความ คลังข้อมูลยา
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 04 ธ.ค. 2563
วันที่หมดอายุ 03 ธ.ค. 2564
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โรคไวรัสโคโรนา 2019 เกิดจากการติดเชื้อไวรัส severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2) ที่กระตุ้นให้ร่างกายตอบสนองโดยการสร้างสารกระตุ้นการอักเสบและไซโตไคน์ (cytokine) ที่เกี่ยวกับกระบวนการอักเสบ ซึ่งการตอบสนองที่มากเกินไปจากการเกิดพายุไซโตไคน์ (cytokine storm) ทำให้เกิดพยาธิสภาพที่รุนแรงต่อปอดและอวัยวะอื่นๆ จนอาจทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตได้ เนื่องจากเป็นโรคอุบัติใหม่จึงยังไม่มีวัคซีนและยาที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้โดยตรง โดยยา ที่คาดว่าสามารถใช้รักษา ได้แก่ กลุ่มยาที่ออกฤทธิ์รบกวนแต่ละขั้นตอนในวงจรชีวิตของเชื้อ SARS-CoV-2 เช่น favipiravir, remdesivir, lopinavir/ritonavir, darunavir/ritonavir, ribavirin, chloroquine และ hydroxychloroquine เป็นต้น และ กลุ่มยาเสริมการรักษา (adjunctive therapies) เช่น ยาต้านไซโตไคน์กลุ่ม IL-6 antagonists ยากลุ่ม corticosteroids และการรักษาโดยการให้ภูมิคุ้มกันโดยตรงด้วยการให้พลาสมาจากผู้ที่หายป่วยจากโรค COVID-19 (convalescent plasma) เป็นต้น อย่างไรก็ตามข้อมูลในขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าการรักษาด้วยยาชนิดใดมีประสิทธิภาพในการรักษาสูงที่สุด ข้อมูลจากการศึกษาทางคลินิกปัจจุบันพบว่าการรักษาด้วย dexamethasone ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาร่วมกับการให้ออกซิเจนช่วยลดอัตราการเสียชีวิตใน 28 วัน (28-day all-cause mortality rate) เมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาแบบมาตรฐาน และยา remdesivir ร่วมกับการให้ออกซิเจนช่วยทำให้เวลาเฉลี่ยในการหายป่วย (median time to recovery) เร็วขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับการรักษามาตรฐาน (10 และ 15 วัน ตามลำดับ) ขณะที่ผลการรักษาโดยการให้ภูมิคุ้มกันโดยตรง เช่น การรักษาโดยการให้พลาสมาของผู้ที่หายป่วยจากการติดเชื้อยังให้ผลไม่แน่นอน ทั้งนี้ต้องติดตามผลจากการศึกษาทางคลินิกที่น่าเชื่อถือต่อไป
คำสำคัญ
COVID-19, เภสัชวิทยาของยารักษาโรคไวรัสโคโรนา 2019, SARS-CoV-2, remdesivir, favipiravir
วิธีสมัครสมาชิก


เมื่อสมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้ว สามารถอ่านบทความแล้วทำแบบทดสอบ Online ได้ที่
https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/cpe