ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของอินซูลินดีกลูเดค อีกหนึ่งทางเลือกอินซูลินออกฤทธิ์เนิ่นสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ชื่อบทความ ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของอินซูลินดีกลูเดค อีกหนึ่งทางเลือกอินซูลินออกฤทธิ์เนิ่นสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ผู้เขียนบทความ นสภ. สวรรยา นามพวน# นิสิตเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 6 ผศ.ดร. ปิยะเมธ ดิลกธรสกุล ภ.บ.*,# (บริบาลเภสัชกรรม), วท.ด. (เภสัชศาสตร์) #ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร *ศูนย์วิจัยผลลัพธ์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
รหัสกิจกรรม 1007-1-000-007-11-2563
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 09 พ.ย. 2563
วันที่หมดอายุ 08 พ.ย. 2564
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
อินซูลินดีกลูเดคเป็นยาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดแบบฉีดชนิดออกฤทธิ์นานสำหรับผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 ในเด็กที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 1 ปีหรือผู้ใหญ่ มีระยะเวลาในการออกฤทธิ์มากกว่า 40 ชั่วโมง สามารถใช้ร่วมกับอินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็วหรือยาลดระดับน้ำตาลในเลือดแบบรับประทานได้ อินซูลินดีกลูเดคมีประสิทธิภาพในการลดน้ำตาลในเลือดได้ไม่แตกต่างจากอินซูลินแบบออกฤทธิ์นานอื่น ๆ แต่มีอัตราการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำรุนแรงน้อยกว่าอินซูลินแบบออกฤทธิ์นานอื่น ๆ โดยที่กลไกการออกฤทธิ์ของอินซูลินดีกลูเดค คือ เมื่ออินซูลินดีกลูเดคที่เรียงตัวกันเป็น di-hexamers ได้รับการฉีดเข้าสู่ร่างกายจะมีการปลดปล่อยหมู่ฟีนอลออกและจับตัวกันเป็น multi-hexamers และค่อย ๆ ปลดปล่อยอินซูลินแบบ monomer ออกมาอย่างช้า ๆ ที่บริเวณใต้ผิวหนังที่ฉีด หลังจากนั้นอินซูลินจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและจับตัวกับโปรตีนอัลบูมินและปลดปล่อยอินซูลินเข้าสู่เซลล์เป้าหมายอย่างช้า ๆ ทำให้อินซูลินดีกลูเดคมีระยะเวลาการออกฤทธิ์นานและลดอัตราการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้เนื่องจากไม่มี peak effect
คำสำคัญ
ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของอินซูลินดีกลูเดค อีกหนึ่งทางเลือกอินซูลินออกฤทธิ์เนิ่นสำหรับผู้ป่วยที่มี