ชื่อบทความ |
 |
การจัดการสารน้ำในทารกแรกเกิด (Fluid management in newborns) |
ผู้เขียนบทความ |
 |
ภญ. ธิตินันท์ รักษ์หนู และ อ.ภก.ภัทรพันธ์ สุขวุฒิชัย |
สถาบันหลัก |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
รหัสกิจกรรม |
 |
1003-1-000-002-07-2563 |
ผู้ผลิตบทความ |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
การเผยแพร่บทความ |
 |
เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ |
วันที่ได้รับการรับรอง |
 |
10 ก.ค. 2563 |
วันที่หมดอายุ |
 |
09 ก.ค. 2564 |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
3 หน่วยกิต |
บทคัดย่อ
พื้นฐานสำคัญในการบริบาลผู้ป่วยทารกแรกเกิด* เริ่มต้นจากการจัดการสารน้ำ ทารกแรกเกิดแต่ละรายมีความต้องการสารน้ำทางหลอดเลือดที่มีปริมาณและองค์ประกอบแตกต่างกัน หากทารกแรกเกิดได้รับสารน้ำไม่เหมาะสมจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต เภสัชกรสามารถมีส่วนร่วมในทีมสหสาขาวิชาชีพในการจัดการสารน้ำและยาทางหลอดเลือดได้ โดยเข้าใจพยาธิสรีรวิทยาของทารกแรกเกิดเกี่ยวกับสมดุลสารน้ำและโซเดียม ได้แก่ ทารกมีน้ำหนักตัวและปริมาณน้ำในร่างกายลดลงของตามสรีรวิทยาในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด องค์ประกอบของสารน้ำในร่างกายของทารกในครรภ์และทารกแรกเกิดแตกต่างกัน โดยเมื่อเทียบกับช่วงทารกในครรภ์ ทารกแรกเกิดมีสัดส่วนปริมาณน้ำในร่างกายลดลงเนื่องมาจากการลดลงของสารน้ำนอกเซลล์ จากนั้นปริมาณน้ำในร่างกายจะลดลงต่อเนื่องจนเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ นอกจากนี้การทำงานของอวัยวะที่แตกต่างจากผู้ใหญ่ ความสามารถในการทำให้ปัสสาวะเข้มข้นหรือเจือจาง ข้อจำกัดด้านพัฒนาการและสมดุลของไต ปริมาณปัสสาวะที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง สารน้ำที่สูญเสียไปโดยไม่รู้ตัว การบริหารสารน้ำที่ประกอบด้วยน้ำและโซเดียมในปริมาณที่แตกต่างกัน ล้วนส่งผลต่อสมดุลของสารน้ำและโซเดียมได้
การคำนวณและวางแผนการให้สารน้ำตามความต้องการโดยพิจารณาจากหลักการคำนวณสารน้ำตามความต้องการของทารกแรกเกิด ซึ่งขึ้นอยู่กับสารน้ำที่ต้องการต่อเนื่อง (maintenance fluids) สารน้ำที่สูญเสียไปโดยไม่รู้ตัว (insensible water loss) และการสูญเสียสารน้ำอื่น ๆ การประเมินอาการและอาการแสดงทางคลินิก การพิจารณาผลทางห้องปฏิบัติการ และการติดตามสมดุลของสารน้ำในร่างกายทารกแรกเกิด สามารถนำมาปรับใช้ในการดูแลทารกแรกเกิดร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ
ทารกแรกเกิด การจัดการสารน้ำ การคำนวณสารน้ำ การติดตามสมดุลสารน้ำ
วิธีสมัครสมาชิก
มีขั้นตอน ดังนี้
1. ให้สมัครสมาชิกเว็บไซต์ก่อนที่หัวข้อ สมัครสมาชิกทั่วไป ตามลิ้งค์ http://cpe.pharmacy.cmu.ac.th จากนั้นให้ login เข้าสู่ระบบ
2. หลังจากเข้าสู่ระบบเรียบร้อย ท่านจะสามารถ
2.1 Download บทความวิชาการเพื่ออ่านได้
2.2 ทำแบบทดสอบออนไลน์เพื่อเก็บ CPE โดยต้องสมัครเป็นสมาชิกแล้วจ่ายเงินค่าสมัครปีละ 200.-บาท
2.3 โอนเงินเข้าที่ธนาคารที่แจ้งไว้ แลัวนำ Slip มาอัพโหลด ในหัวข้อ การชำระเงิน/แจ้งชำระเงิน
2.4 รอเจ้าหน้าที่เช็คหลักฐานการชำระเงิน หากเรียบร้อยก็สามารถเข้าทำแบบทดสอบ