ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
เทคโนโลยีนำส่งยาทางผิวหนัง Ethosomes
ชื่อบทความ เทคโนโลยีนำส่งยาทางผิวหนัง Ethosomes
ผู้เขียนบทความ ภญ.นิชาภา ภคพุฒิสกุล ภญ.สิริวรนุช รอญศึก และ ภก.อนวัช มิตรประทาน
สถาบันหลัก สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
รหัสกิจกรรม 5003-1-000-004-06-2563
ผู้ผลิตบทความ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 24 มิ.ย. 2563
วันที่หมดอายุ 23 มิ.ย. 2564
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
เทคโนโลยีการนำส่งยาทางผิวหนังได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการดูดซึมยาในระบบทางเดินอาหาร และเพื่อปรับเปลี่ยนให้สะดวกต่อการใช้งาน ระบบการนำส่งยาแบบ ethosomal เป็นระบบหนึ่งที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยมีองค์ประกอบทั้งส่วนที่เป็น lipophilic และ hydrophilic ทำให้สามารถนำส่งยาที่มีความชอบน้ำ และยาที่มีความชอบไขมันได้ดี อีกทั้งมีแอลกอฮอล์ความเข้มข้นสูงทำให้อนุภาค ethosomes มีความยืดหยุ่นสามารถแทรกผ่านชั้นผิวหนังลงไปได้อย่างดี โดย ethosomes นี้แบ่งได้เป็น classical ethosomes, binary ethosomes และ transethosomes ขึ้นกับองค์ประกอบและสัดส่วนความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ที่ใช้ ส่วนวิธีการเตรียมนั้นมีหลากหลายวิธี ขึ้นกับคุณสมบัติของตัวยาและความเหมาะสมชองระบบ ethosomal ที่ใช้ ปัจจุบันได้มีการพัฒนาตำรับยาที่ใช้ ethosomes ในหลายรูปแบบ เช่น เจล ครีม แผ่นแปะ ซึ่งเหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เทคโนโลยีการนำส่งยา ethosomes มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ผู้ผลิตต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและความปลอดภัย เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้งานในระยะยาว
คำสำคัญ
การนำส่งยาทางผิวหนัง, เอทโธโซม, Ethosomes, Ethanol, Drug delivery, Transdermal