บทคัดย่อ
การพัฒนายาต้านเชื้อไวรัสเอชไอวีในปัจจุบันนอกจากมุ่งเน้นประสิทธิภาพให้สามารถลดและควบคุมปริมาณไวรัสให้น้อยและนานที่สุดแล้ว ยาต้องมีความปลอดภัยเมื่อใช้ในระยะยาวเนื่องจากการรักษานั้นผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีต้องรับประทานยาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานทำให้มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้สูง ยา tenofovir disoproxil fumarate (TDF) เป็นยาต้านไวรัสเอชไอวีที่มีประสิทธิภาพและผู้ป่วยสามารถทนต่อยาได้ดี แต่พบปัญหาต่อไตและกระดูก ปัจจุบันได้มีการพัฒนายาตัวใหม่ขึ้นคือ tenofovir alafenamide fumarate (TAF) ซึ่งเป็น prodrug ของยา tenofovir (TFV) ในรูปแบบเกลือแบบใหม่ที่มีคุณสมบัติด้านเภสัชพลศาสตร์และเภสัจลนศาสตร์ที่แตกต่างจาก TDF โดยผลการศึกษาทางคลินิกพบว่า TAF มีประสิทธิภาพในการลดและควบคุมระดับไวรัสเอชไอวีได้ไม่แตกต่างจาก TDF ทั้งในกลุ่มผู้ป่วยรายใหม่และผู้ป่วยที่เคยได้รับการรักษามาก่อน และพบว่ามีความปลอดภัยต่อไตและกระดูกมากกว่า อย่างไรก็ตาม TAF พบอาการข้างเคียงที่สำคัญคือการเพิ่มระดับไขมันในเลือด รวมทั้งยังไม่ได้รับการบรรจุเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติทำให้ยังคงเป็นข้อจำกัดในการเข้าถึงยาในประเทศไทย