ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
การเปรียบเทียบผลการประเมินอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ที่ป้องกันได้ของเครื่องมือ P Method และ Schumock and Thornton Criteria
ชื่อบทความ การเปรียบเทียบผลการประเมินอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ที่ป้องกันได้ของเครื่องมือ P Method และ Schumock and Thornton Criteria
ผู้เขียนบทความ ชลธิชา สอนสุภาพ, ระพีพรรณ ฉลองสุข
สถาบันหลัก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
รหัสกิจกรรม 3001-1-000-003-05-2563
ผู้ผลิตบทความ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 28 พ.ค. 2563
วันที่หมดอายุ 27 พ.ค. 2564
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่ป้องกันได้ (preventable adverse drug reactions; pADRs) ของเครื่องมือ P Method และ Schumock and Thornton criteria รวมถึงค้นหาสาเหตุและลักษณะของรายงานดังกล่าว โดยผู้ประเมิน 3 คน ประเมินรายงาน ADRs ยากลุ่มระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก จากโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2557 - 30 กันยายน 2560 ที่มีระดับความสัมพันธ์ใช่แน่นอน และเป็นรายงานที่ข้อมูลครบถ้วนตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพรายงาน ในระดับ 3 ฐานข้อมูลศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Thai Vigibase) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ทดสอบความแตกต่างของสัดส่วนรายงาน ด้วยสถิติ Fisher’s exact test และหาความเชื่อมั่นระหว่างผู้ประเมิน ด้วยสถิติ Fleiss’s Kappa ผลการวิจัยพบว่ารายงาน ADRs จำนวน 273 ฉบับ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 65.93) มีอายุระหว่าง 15-59 ปี (ร้อยละ 56.04) และเป็นผู้ป่วยนอก ร้อยละ 72.16 รายงาน pADRs ที่ผู้ประเมินมีความเห็นตรงกันของแต่ละเครื่องมือ พบว่า เป็นรายงานที่ผู้ป่วยได้รับยากลุ่ม NSAIDs มากกว่า 1 รายการ 2 ฉบับ และเป็นรายงานที่ผู้ป่วยได้รับยาที่เคยมีประวัติการแพ้ 1 ฉบับ โดยส่วนใหญ่เป็นอาการทางระบบผิวหนัง สัดส่วนของจำนวนรายงานเมื่อประเมินด้วยเครื่องมือที่แตกต่างกัน พบว่ามีผู้ประเมิน 1 คนที่ผลการประเมินมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.00) และเมื่อวิเคราะห์ค่าความสอดคล้องของเครื่องมือ พบว่าเครื่องมือ Schumock and Thontron criteria มีค่าความสอดคล้องมากกว่าเครื่องมือ P Method โดยมีค่าความสอดคล้องในระดับปานกลาง (Fleiss’s Kappa = 0.44) ในขณะที่ P Method มีค่าความสอดคล้องอยู่ในระดับเล็กน้อย (Fleiss’s Kappa = 0.15) และพบว่าสัดส่วนรายงานที่ผู้ประเมินเห็นตรงกันเมื่อประเมินด้วย Schumock and Thontron criteria มีจำนวนมากกว่า P Method อย่างไรก็ตามรายงานส่วนใหญ่เป็นรายงานที่ไม่สามารถประเมินได้ อาจเนื่องมาจากข้อมูลรายงาน ADRs จากฐานข้อมูล Thai Vigivase มีอย่างจำกัด จึงเสนอให้มีการพัฒนาแบบรายงาน ADRs ให้ผู้รายงานระบุข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการประเมิน pADRs เพื่อให้การประเมินความเป็นไปได้ในการป้องกันอาการไม่พึงประสงค์ของรายงานแต่ละฉบับเป็นไปอย่างครอบคลุมและครบถ้วน สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการกำหนดมาตรการการป้องกันและลดการเกิด pADRs ในระดับประเทศต่อไป
คำสำคัญ
เครื่องมือประเมินอาการไม่พึงประสงค์ที่ป้องกันได้ อาการไม่พึงประสงค์ที่ป้องกันได้