บทความวิชาการ
หลักการจำแนกผลิตภัณฑ์สุขภาพและแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์คาบเกี่ยว ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ชื่อบทความ หลักการจำแนกผลิตภัณฑ์สุขภาพและแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์คาบเกี่ยว ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ผู้เขียนบทความ พัชราพรรณ กิจพันธ์
สถาบันหลัก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
รหัสกิจกรรม 3001-1-000-002-05-2563
ผู้ผลิตบทความ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 21 พ.ค. 2563
วันที่หมดอายุ 20 พ.ค. 2564
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีวัตถุประสงค์ การใช้เพื่อสุขภาพอนามัย รวมถึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนผลิตภัณฑ์ที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นหน่วยงานหลักของประเทศไทยที่กำกับและควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่จำหน่ายในท้องตลาด ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อยู่ภายใต้การกำกับ ดูแล ของ อย. ประกอบด้วย ยา ยาเสพติดให้โทษ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท สารระเหย เครื่องมือแพทย์ อาหาร เครื่องสำอาง และวัตถุอันตราย เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยและสมประโยชน์ โดย อย. มีความได้เปรียบทางกฎหมายที่เอื้อและเปิดโอกาสให้ทาง อย. สามารถใช้กฎหมายในการบังคับให้ผู้ประกอบการที่ต้องการผลิต นำเข้า หรือขาย ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อยู่ภายใต้การกำกับ ดูแล ควบคุม ของ อย. ทั้ง 9 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ 2562 พระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 ซึ่งกฎหมายแต่ละฉบับได้มีบทบัญญัติตั้งแต่กระบวนการวินิจฉัยผลิตภัณฑ์ อนุญาตทะเบียนผลิตภัณฑ์ การกำกับดูแล ควบคุมหลังอนุญาตทะเบียนผลิตภัณฑ์ รวมทั้งบทลงโทษในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎหมายซึ่งมีความแตกต่างกันตามคำนิยามของผลิตภัณฑ์เหล่านั้น สำหรับต่างประเทศหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับ ดูแล ผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น US Food and Drug Administration (USFDA), Pharmaceuticals and Medical Devices AGENCY (PMDA) ของประเทศญี่ปุ่น, Therapeutic Goods Administration (TGA) ของออสเตรเลีย, Health Canada ของแคนาดา และ The European Medicines Agency (EMA) ของสหภาพยุโรป ซึ่งผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถจำแนกได้หลักๆ เช่น ยา อาหาร ผลิตภัณฑ์สมุนไพร วัตถุอันตราย เครื่องมือแพทย์ เครื่องสำอาง เป็นต้น
คำสำคัญ
ผลิตภัณฑ์คาบเกี่ยว การจำแนก