ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
การป้องกันไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ที่ติดต่อผ่านช่องทางการสัมผัส
ชื่อบทความ การป้องกันไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ที่ติดต่อผ่านช่องทางการสัมผัส
ผู้เขียนบทความ ภก.บวรภัทร สุริยะปกรณ์, ภก.สุกฤษฏิ์ ศรีสกุล
สถาบันหลัก กองบริหารการสาธารณสุข
รหัสกิจกรรม 3003-1-000-002-05-2563
ผู้ผลิตบทความ กองบริหารการสาธารณสุข
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 20 พ.ค. 2563
วันที่หมดอายุ 19 พ.ค. 2564
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Severe Acute Respiratory Syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2) ปัจจุบันได้รับการประกาศจากองค์การอนามัยโลกให้เป็นโรคระบาดทั่วโลก โดยอาการและอาการแสดงมีหลากหลายตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงก่อให้เกิดความผิดปกติของระบบอวัยวะหลายระบบ โดยอาการและอาการแสดงทางระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้ ไอ เจ็บคอ สามารถพบได้บ่อยที่สุด การติดต่อของโรคส่วนหนึ่งเกิดจากการสัมผัสเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม โดยสามารถอยู่บนพื้นผิวสัมผัสต่าง ๆ ดังนั้นการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อจึงเป็นวิธีหนึ่งในการป้องกันการติดเชื้อโดยการสัมผัสได้ ในบทความนี้จึงทำการทบทวนข้อมูลการศึกษาที่เกี่ยวข้อง พบว่าเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 สามารถพบบนพื้นผิวในสิ่งแวดล้อมได้ตั้งแต่ 2 ชั่วโมงถึงประมาณ 1 สัปดาห์ ขึ้นกับชนิดของพื้นผิว และสภาวะแวดล้อม โดยเชื้อจะมีแนวโน้มของการอยู่รอดสั้นลงในอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ที่สูง น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อและได้รับการรับรองโดย US EPA เช่น เอทานอล ไฮโดรเจรเปอรอกไซด์ และโซเดียมไฮโปคลอไรต์ แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลการศึกษายังมีจำนวนน้อยและพบผลขัดแย้งกันระหว่างการศึกษา วิธีหลักในการป้องกันการติดเชื้อโดยการสัมผัส จึงแนะนำให้ปฏิบัติด้วยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งต่าง ๆ โดยไม่จำเป็น ล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่อย่างถูกวิธีหลังการสัมผัส
คำสำคัญ
การป้องกันไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ที่ติดต่อผ่านช่องทางการสัมผัส