ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
กินกระเทียม…เสริมภูมิคุ้มกัน
ชื่อบทความ กินกระเทียม…เสริมภูมิคุ้มกัน
ผู้เขียนบทความ ภญ.อาสาฬา เชาวน์เจริญ, ดร.ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว
สถาบันหลัก ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์
รหัสกิจกรรม 0001-1-000-003-05-2563
ผู้ผลิตบทความ วิทยาลัยเภสัชกรรมสมุนไพรแห่งประเทศไทย
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 19 พ.ค. 2563
วันที่หมดอายุ 18 พ.ค. 2564
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ในช่วงที่ไวรัสโควิด-19 กำลังระบาด ทุกฝ่ายเฝ้ารออย่างใจจดใจจ่อว่าเมื่อใดการระบาดจะคลี่คลาย ซึ่งความหวังหนึ่งคือการให้วัคซีน เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกัน เนื่องจากภูมิคุ้มกันนี้เป็นกลไกที่สำคัญในการป้องกันและเยียวยาร่างกายจากเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม โดยเฉพาะอย่างยิ่งไวรัส1 แต่อย่างไรก็ตามในระหว่างที่รอวัคซีนนั้น การทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงก็เป็นสิ่งที่มีความจำเป็น และสามารถทำได้หลายวิธี ประเทศไทยนับว่ามีความโชคดีอยู่อย่างหนึ่ง คือ พืชพรรณสมุนไพร ที่ใช้ปรุงเป็นอาหารและยารักษาโรคมายาวนาน หนึ่งในนั้นคือ กระเทียม ซึ่งเป็นเครื่องเทศที่มีติดก้นครัวไว้ทุกบ้าน จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่ากระเทียมมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทั้ง ภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด (Innate immunity) หรือ ภูมิคุ้มกันชนิดไม่จำเพาะ เป็นด่านแรกในการต่อสู้และป้องกันเชื้อไวรัสที่เข้ามาในร่างกาย และ ภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ (Adaptive or Acquired Immunity) ที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับสิ่งแปลกปลอม เป็นด่านที่สองที่ร่างกายจะตอบสนองต่อเชื้อโรคอย่างจำเพาะเจาะจงผ่านเม็ดเลือดขาว โดยมีเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันที่สำคัญคือ B lymphocyte ซึ่งจะสร้าง Antibody และ T lymphocyte ซึ่งจะสร้าง T cell ที่สามารถสร้างการตอบสนองที่หลากหลายทั้งต่อเชื้อไวรัสในเซลล์และนอกเซลล์ ซึ่งการตอบสนองแบบจำเพาะนี้ มีคุณสมบัติในการจดจำเชื้อโรคได้ ทำให้การตอบสนองในครั้งหลังรวดเร็ว มีประสิทธิภาพดีและมีปริมาณมากกว่าการตอบสนองในครั้งแรก2 กระเทียมเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งในอีกหลายชนิดที่แนะนำให้กินในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 เนื่องจากมีฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกันและต้านการอักเสบ
คำสำคัญ
กินกระเทียม…เสริมภูมิคุ้มกัน