ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
ร้านขายยาในเม็กซิโก
ชื่อบทความ ร้านขายยาในเม็กซิโก
ผู้เขียนบทความ ภก.ดร.วิรัตน์ ทองรอด
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
รหัสกิจกรรม 1013-1-000-001-05-2563
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 05 พ.ค. 2563
วันที่หมดอายุ 04 พ.ค. 2564
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ร้านขายยาในเม็กซิโกมีจำนวนมากมาย เปิดให้บริการแก่ประชาชนตลอดทั้งวัน ซึ่งในการเปิดร้านขายยาจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพของเภสัชกร แต่ในทางปฏิบัติจะหาร้านที่มีเภสัชกรอยู่ประจำตลอดเวลาที่เปิดทำงานนั้นเป็นไปได้น้อย มีแต่พนักงานร้านขายยาที่ผ่านงาน มีประสบการณ์ การอบรม หรือ ความรู้เรื่องยาจากผู้แทนบริษัทยา แต่งกายด้วยเสื้อกาวน์ขาว ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเรื่องยาและสุขภาพแก่ชุมชน ร้านขายยาส่วนใหญ่เป็นร้านยาเชน ซึ่งได้เปรียบกว่าร้านยาเดี่ยวทั้งในด้านสถานที่ ความหลากหลายของยาและเวชภัณฑ์ อำนาจการต่อรอง ราคา และบริการ ทั้งยังมีคลินิกแพทย์คอยให้บริการใบสั่งยาอยู่ข้างๆ เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับผู้รับบริการ ที่ต้องการยาที่ต้องมีใบสั่งแพทย์ได้ตามความต้องการอีกด้วย หลักสูตรที่เปิดสอนสำหรับเภสัชกรในเม็กซิโก ชื่อ “Chemist, Pharmacist, Biologist” หรือ “Chemist-Pharmacologist” (QFBs) ซึ่งใช้เวลาเรียน 4-5 ปี เมื่อจบการศึกษาแล้วส่วนใหญ่จะเลือกทำงานในภาคอุตสาหกรรมยา อาหาร ห้องปฏิบัติการคลินิก ครูวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือ ผู้แทนยา จะมีส่วนน้อยที่เลือกทำงานเป็นเภสัชกรในร้านยา อาจจะเป็นเพราะรายได้น้อยกว่างานในสาขาอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามมีความร่วมมือระหว่างเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา และแคนาดา ในการพัฒนาหลักสูตรการบริบาลทางเภสัชกรรม หรือ Pharm.D. โดยตรง ทำให้เริ่มมีเภสัชกรไปช่วยทำหน้าที่ต่างๆ ในโรงพยาบาลมากขึ้น
คำสำคัญ
ร้านขายยา เม็กซิโก เภสัชกร หลักสูตรเภสัชศาสตร์ การบริบาลทางเภสัชกรรม