บทความวิชาการ
แนวทางการพิจารณาขนาดยาที่ใช้รักษาการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องพยุงปอดและหัวใจ (Drug Dosing for Treatment Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) in Patients..
ชื่อบทความ แนวทางการพิจารณาขนาดยาที่ใช้รักษาการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องพยุงปอดและหัวใจ (Drug Dosing for Treatment Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) in Patients..
ผู้เขียนบทความ ดร.ภญ.สิริมา สิตะรุโน
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รหัสกิจกรรม 1004-1-000-003-04-2563
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 30 เม.ย. 2563
วันที่หมดอายุ 29 เม.ย. 2564
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
การติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (coronavirus disease 2019: COVID-19) เป็นการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ พบการระบาดแพร่กระจายไปทั่วโลก ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มักมีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจเพียงเล็กน้อย แต่อาจมีบางส่วนที่ติดเชื้อรุนแรงจำเป็นต้องได้รับการช่วยหายใจโดยใช้ออกซิเจน ผู้ป่วยบางรายได้การรักษาด้วยเครื่องพยุงปอดและหัวใจ (extracorporeal membrane oxygenation: ECMO) ซึ่งทำให้เภสัชจลนศาสตร์โดยเฉพาะกระบวนการกระจายตัวของยาต้านจุลชีพที่ใช้ในการรักษาเปลี่ยนแปลงไปได้ ยาที่จะถูกดูดซับในวงจรของเครื่องพยุงปอดและหัวใจได้ดี คือ ยาที่ละลายได้ดีในไขมัน และยาที่จับกับโปรตีนในเลือดได้สูง ในขณะที่กระบวนการทำ circuit priming จะทำให้ผู้ป่วยมีปริมาตรการกระจายตัวของยาที่สูงขึ้นได้ จากการทบทวนวรณกรรม แนะนำให้ผู้ป่วยที่ได้การรักษาด้วยเครื่องพยุงปอดและหัวใจใช้ยา azithromycin และ favipiravir ในขนาดปกติ และแนะนำให้ใช้ยา chloroquine, hydroxychloroquine, darunavir, ritonavir และ lopinavir ในขนาดปกติถึงขนาดสูงสุดที่มีการใช้ในการรักษาโรค ควรมีการติดตามประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการใช้ยาอย่างใกล้ชิด
คำสำคัญ
coronavirus disease 2019, extracorporeal membrane oxygenation, ECMO, antimicrobials