080 285 8082
ccpe@pharmacycouncil.org
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข้อบังคับและประกาศของศูนย์
การประชุมวิชาการ
บทความวิชาการ
เข้าสู่ระบบ
ติดต่อเรา
บทความวิชาการ
พอลิเมอร์ยึดติดเยื่อเมือกสำหรับการนำส่งยาผ่านดวงตา
ชื่อบทความ
พอลิเมอร์ยึดติดเยื่อเมือกสำหรับการนำส่งยาผ่านดวงตา
ผู้เขียนบทความ
ภูวมินทร์ สุริยาอัมพร , วรนันท์ รังสิมาวงศ์, ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์
สถาบันหลัก
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
รหัสกิจกรรม
1006-1-000-003-05-2563
ผู้ผลิตบทความ
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
การเผยแพร่บทความ
ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน
วันที่ได้รับการรับรอง
14 พ.ค. 2563
วันที่หมดอายุ
13 พ.ค. 2564
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง
2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
การนำส่งยาโดยผ่านดวงตาเป็นหนึ่งในการรักษาโรคทางดวงตาที่ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการใช้ยาเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม การนำส่งยาแบบเฉพาะที่ไปที่ดวงตามีชีวประสิทธิผลต่ำสำหรับการรักษาโรคทางดวงตาที่เฉพาะเจาะจง การซึมผ่านของยาถูกจำกัดโดยลักษณะกายวิภาคและสรีรวิทยาของดวงตา เช่น การกระพริบตา และ การหลั่งน้ำตา ซึ่งทำให้ยาถูกกำจัดออกจากพื้นผิวดวงตาอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องบริหารยาหลายครั้งเพื่อที่จะคงระดับยาที่ให้ผลในการรักษาไว้ เพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการนำส่งยาเข้าสู่ดวงตาและลดผลข้างเคียงจากยา การใช้พอลิเมอร์ยึดติดเยื่อเมือกสามารถช่วยเพิ่มการยึดติดของยาในชั้นน้ำตาได้ยาวนานขึ้น มิวซินเป็นส่วนที่สำคัญในชั้นเยื่อเมือกดวงตาที่เพิ่มคุณสมบัติการยึดติดกับเยื่อเมือกดวงตา ซึ่งมิวซินเป็นไกลโคโปรตีนชนิดหนึ่งและมีประจุลบ จึงทำให้พื้นผิวของดวงตามีคุณสมบัติเป็นประจุลบ การยึดติดเยื่อเมือกของดวงตาและพอลิเมอร์สามารถอธิบายได้โดยทฤษฎีปฏิกิริยาทางเคมีและปฏิกิริยาทางกายภาพ พอลิเมอร์ยึดติดเยื่อเมือกรุ่นแรก เช่น อนุพันธ์ของเซลลูโลส กรดพอลิอะคริลิค กรดไฮยาลูโรนิค เป็นต้น ซึ่งทำปฏิกิริยากับมิวซินโดยพันธะไฮโดรเจนหรือพันธะไฮโดรโฟบิก ในปัจจุบัน พอลิเมอร์ยึดติดเยื่อเมือกรุ่นใหม่ เช่น ไทโอเมอร์ อะคริเลต เป็นหนึ่งในพอลิเมอร์ยึดติดเยื่อเมือกที่ดีที่สุดในการนำส่งยาผ่านทางดวงตา สามารถสร้างพันธะโควาเลนต์ และพันธะไฮโดรเจน หรือการใช้ปฏิกิริยาทางไฟฟ้ากับมิวซินได้ การใช้พอลิเมอร์ยึดติดเยื่อเมือกเป็นความก้าวหน้าอย่างมากในการพัฒนาระบบนำส่งยาทางตาต่อไปในอนาคต
คำสำคัญ
พอลิเมอร์ยึดติดเยื่อเมือก, การส่งยาผ่านดวงตา, มิวซิน