ชื่อบทความ |
 |
ความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยา (prescribing error) |
ผู้เขียนบทความ |
 |
ผศ. ดร. ภญ. นันทวรรณ กิติกรรณากรณ์, ภญ. พัทธวรรณ โตใหญ่ |
สถาบันหลัก |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
รหัสกิจกรรม |
 |
1003-1-000-001-03-2563 |
ผู้ผลิตบทความ |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
การเผยแพร่บทความ |
 |
เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ |
วันที่ได้รับการรับรอง |
 |
24 มี.ค. 2563 |
วันที่หมดอายุ |
 |
23 มี.ค. 2564 |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
2.5 หน่วยกิต |
บทคัดย่อ
บทนำ
ความคลาดเคลื่อนทางยาจัดเป็นเหตุการณ์ความเสี่ยงที่สำคัญที่นำไปสู่ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องจากยา นำไปสู่การใช้ยาไม่เหมาะสม ได้แก่ ผิดคน ผิดชนิดยา ผิดช่องทาง ผิดขนาด ผิดเวลา ผิดเทคนิค1 ส่งผลให้การรักษาไม่ได้ประสิทธิภาพ เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา ที่ส่งผลให้ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติมหรือต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น ทำให้เพิ่มค่าใช้จ่ายทั้งในส่วนของโรงพยาบาลและผู้ป่วย นอกจากนี้ จากรายงานการศึกษาหนึ่งพบว่าความคลาดเคลื่อนทางยาเป็นอีกสาเหตุของการเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 9.8 และทำให้เกิดอันตรายรุนแรงต่อผู้ป่วยได้ถึงร้อยละ 68.22 ข้อมูลในสหรัฐอเมริกา พบว่าในแต่ละวันเภสัชกรหนึ่งคนจะพบความคลาดเคลื่อน
4 ครั้งต่อใบสั่งยา 250 ใบ และในแต่ละปีพบความคลาดเคลื่อนทางยา 51.1 ล้านครั้ง ต่อใบสั่งยา 3 ล้านใบ3 และอีกหนึ่งรายงานการศึกษาพบว่าเภสัชกรสามารถคัดกรองความคลาดเคลื่อนของการสั่งใช้ยาได้มากกว่าร้อยละ 80 ของความคลาดเคลื่อนทั้งหมด ซึ่งการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าผู้สั่งใช้ยาพร้อมจะเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานหากได้รับการสะท้อนข้อมูลเมื่อเกิดความคลาดเคลื่อนขึ้น แต่สาเหตุของการไม่รายงานความคลาดเคลื่อนนั้นหรือการรายงานน้อยกว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงอาจจะเกิดจากการไม่มีเวลา ความกลัวจะเกิดปัญหาระหว่างวิชาชีพ เข้าใจผิดว่าให้รายงานเฉพาะความคลาดเคลื่อนที่รุนแรงหรือเป็นความคลาดเคลื่อนเชิงระบบ หากความคลาดเคลื่อนที่เกิดมีสาเหตุจากบุคคลมักจะไม่ถูกรายงาน และไม่แน่ใจว่าอะไรคือสาเหตุที่แท้จริงของความคลาดเคลื่อนนั้นจึงไม่รายงาน4,5
คำสำคัญ
medication error, prescribing error, ความคลาดเคลื่อนทางยา, ความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยา
วิธีสมัครสมาชิก
มีขั้นตอน ดังนี้
1. ให้สมัครสมาชิกเว็บไซต์ก่อนที่ หัวข้อ สมัครสมาชิกทั่วไป ตามลิ้ง
http://cpe.pharmacy.cmu.ac.th
2. หลังจากนั้น นำรหัสผ่านที่แจ้งใน mail ที่สมัครไว้มาเข้าสู่ระบบ
http://cpe.pharmacy.cmu.ac.th
3. หลังจากเข้าสู่ระบบเรียบร้อยก็สามารถ
1. Download บทความวิชาการ ได้
2. ทำแบบทดสอบออนไลน์เพื่อเก็บ CPE ต้องสมัครเป็นสมาชิกแล้วจ่ายเงินค่าสมัครปีละ 200.-บาท
3. โอนเงินเข้าที่ธนาคารที่แจ้งไว้ แลัวนำ Slip มาอัพโหลด ในหัวข้อ การชำระเงิน/แจ้งชำระเงิน
4. รอเจ้าหน้าที่เช็คหลักฐานการชำระเงิน หากเรียบร้อยก็สามารถเข้าทำแบบทดสอบ