ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสำหรับเภสัชกรชุมชน Pharmaceutical Care in Depression for Community Pharmacist (Mobile CPE 1-63)
ชื่อบทความ การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสำหรับเภสัชกรชุมชน Pharmaceutical Care in Depression for Community Pharmacist (Mobile CPE 1-63)
ผู้เขียนบทความ ภก.ดร.ถนอมพงษ์ เสถียรลัคนา
สถาบันหลัก เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
รหัสกิจกรรม 2001-1-000-001-01-2563
ผู้ผลิตบทความ เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 07 ม.ค. 2563
วันที่หมดอายุ 06 ม.ค. 2564
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
บทนำ โรคซึมเศร้า (major depressive disorder) เป็นโรคทางจิตเวชที่พบบ่อย และเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข ซึ่งก่อให้เกิดภาวะทุพพลภาพได้ โดยตลอดช่วงอายุขัย (lifetime) สามารถพบโรคซึมเศร้าถึงร้อยละ 16.2 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งจะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่จะพบมากที่สุดในช่วงวัยรุ่นและวัยทำงาน โรคซึมเศร้ามีแนวโน้มการเกิดโรคสูงขึ้นเรื่อยๆ การรักษาโรคซึมเศร้าอย่างมีประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะเรื่องของการใช้ยาต้านซึมเศร้า (antidepressants) ซึ่งถือเป็นการรักษาหลักในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และเป็นองค์ความรู้ที่เภสัชกรชุมชนควรมีความรู้ความเข้าใจ เนื่องจากบทบาทของเภสัชกรชุมชนในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสามารถเป็นด่านแรกที่ช่วยคัดกรองอาการของโรคซึมเศร้าเพื่อแนะนำและส่งต่อไปรักษาที่สถานพยาบาล และยังสามารถให้คำแนะนำการใช้ยาต้านซึมเศร้าอย่างถูกต้องเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย อีกทั้งยังเป็นการรองรับนโยบายร้านยาชุมชนอบอุ่นซึ่งจัดให้กลุ่มโรคจิตเวชเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่เภสัชกรชุมชนควรมีบทบาทในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ บทความนี้จะเน้นถึงการสื่อสารและคัดกรองผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในเบื้องต้น การรักษาโรคซึมเศร้าโดยใช้ยา ความรู้ทางเภสัชวิทยาของยาต้านซึมเศร้า และบทบาทของเภสัชกรชุมชนในการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
คำสำคัญ
คำสำคัญ: โรคซึมเศร้า, ยาต้านซึมเศร้า, การบริบาลทางเภสัชกรรม, เภสัชกรชุมชน
วิธีสมัครสมาชิก
www.pat.or.th