ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
Fresh Frozen Plasma (FFP): การเตรียม การปล่อยผ่าน การเก็บรักษา การขนส่งและข้อบ่งใช้
ชื่อบทความ Fresh Frozen Plasma (FFP): การเตรียม การปล่อยผ่าน การเก็บรักษา การขนส่งและข้อบ่งใช้
ผู้เขียนบทความ ภญ.ชนัญชิดา สิริโภคารักษ์ และ ดร.ภก.นรินทร์ กิจเกรียงไกรกุล
สถาบันหลัก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
รหัสกิจกรรม 5001-1-000-001-12-2563
ผู้ผลิตบทความ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 26 ธ.ค. 2562
วันที่หมดอายุ 25 ธ.ค. 2563
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
FFP เป็นพลาสมาที่ได้มาจากโลหิตรวม หรือการบริจาคโลหิตแบบ apheresis ซึ่งหลังจากการเก็บโลหิตแล้วจะต้องรีบนำพลาสมาไปทำให้แข็งตัวอย่างรวดเร็วที่อุณหภูมิ 2-6 องศาเซลเซียสภายในเวลา 6 ชั่วโมง หรือภายในเวลาที่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องแล้วว่าสามารถรักษาคุณภาพของพลาสมาไว้ได้เพื่อคงคุณภาพของ factor VIII และ factor อื่น ๆ ที่จำเป็นในการแข็งตัวของโลหิต ในกรณีที่ไม่สามารถนำไปทำให้แข็งตัวทันทีในเวลา 6 ชั่วโมง สามารถใช้เครื่องมือพิเศษ หรือ 1,4-butanediol ในการลดอุณหภูมิของโลหิตหลังจากการเจาะเก็บให้อยู่ที่ 20-24 องศาเซลเซียสแล้วรักษาอุณหภูมิให้คงที่ในช่วงนี้ไว้จะสามารถเก็บโลหิตไว้ได้นานถึง 24 ชั่วโมง พลาสมาที่ผ่านกระบวนการแช่แข็งแล้วจะต้องถูกกักกันเพื่อตรวจพารามิเตอร์ต่าง ๆ หากผลผ่านแล้วจึงสามารถจ่ายออกไปใช้ได้ ในส่วนของการเก็บรักษา FFP หากเก็บไว้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า -25 องศาเซลเซียสจะสามารถเก็บได้ 36 เดือนซึ่งนานกว่าการเก็บไว้ที่อุณหภูมิ -18 ถึง -25 องศาเซลเซียสซึ่งเก็บได้เพียงแค่ 3 เดือนเท่านั้น และในขณะที่ทำการขนส่ง FFP ควรรักษาอุณหภูมิขณะขนส่งให้เป็นไปตามอุณหภูมิที่ใช้ในการเก็บรักษา ในการนำ FFP มาใช้จะต้องผ่านกระบวนการทำละลาย โดยต้องมีการตรวจสอบความสมบูรณ์ของถุงที่บรรจุพลาสมาทั้งก่อนและหลังการทำละลาย เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีรอยรั่วหรือสิ่งปนเปื้อนที่อาจกระทบต่อคุณภาพของพลาสมาได้ FFP เป็นผลิตภัณฑ์โลหิตที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะสามารถนำไปใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์โลหิตชนิดต่าง ๆ ได้แล้ว ยังสามารถใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาการขาด factor หลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการการแข็งตัวของโลหิตได้อีกด้วย
คำสำคัญ