ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
ภาวะปากแห้ง (xerostomia)
ชื่อบทความ ภาวะปากแห้ง (xerostomia)
ผู้เขียนบทความ กิตติพงศ์ อ่อนเส็ง, สุภัสร์ สุบงกช
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รหัสกิจกรรม 1005-1-000-005-12-2562
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 24 ธ.ค. 2562
วันที่หมดอายุ 23 ธ.ค. 2563
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ภาวะปากแห้งเหตุน้ำลายน้อย หรือ xerostomia มาจากภาษากรีก 2 คำ “xeros” หมายถึงแห้ง และ “stoma” หมายถึงปาก (mouth)1 ภาวะปากแห้งเหตุน้ำลายน้อยเป็นความรู้สึกเชิงจิตวิสัย (subjective sensation) ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกช่องปากแห้ง มักเกิดจากต่อมน้ำลาย (salivary gland) ทำงานน้อยกว่าปกติ2 สาเหตุของการเกิดภาวะปากแห้งเหตุน้ำลายน้อยเกิดจากหลายสาเหตุ การฉายรังสีรักษา (radiotherapy) ในผู้ป่วยโรคมะเร็งศีรษะและลำคอเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการเกิดภาวะปากแห้งเหตุน้ำลายน้อย บทความนี้จะเน้นภาวะปากแห้งเหตุน้ำลายน้อยในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการฉายรังสีรักษา ส่วนการเกิดภาวะปากแห้งเหตุน้ำลายน้อยจากสาเหตุอื่นในผู้ป่วยที่ไม่ใช่โรคมะเร็งจะไม่ลงรายละเอียดในบทความนี้ ภาวะปากแห้งเหตุน้ำลายน้อยมักเป็นภาวะความผิดปกติที่คงอยู่กับผู้ป่วยได้ยาวนานในผู้ป่วยโรคมะเร็งศีรษะและลำคอที่ได้รับรังสีรักษาถึงแม้ขนาดของรังสีรักษาจะอยู่ในช่วงการรักษา (therapeutic doses) ก็ตาม ผู้ป่วยจะมีปริมาณน้ำลายลดลง เหนียวและหนืดข้น ทำให้เกิดความไม่สบายในช่องปาก มีอาการปวด มีความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ (caries) การติดเชื้อในช่องปากเพิ่มมากขึ้น3 ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลง
คำสำคัญ
xerostomia, radiotherapy, cytoprotectant, mucositis, amifostine