|
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568
Management of gout : Comparison of Clinical Practice Guidelines
ชื่อบทความ |
 |
Management of gout : Comparison of Clinical Practice Guidelines |
ผู้เขียนบทความ |
 |
อาจารย์ ภก. สินธุ์วิสุทธิ์ สุธีชัย |
สถาบันหลัก |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
รหัสกิจกรรม |
 |
1003-1-000-004-12-2562 |
ผู้ผลิตบทความ |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
การเผยแพร่บทความ |
 |
ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน |
วันที่ได้รับการรับรอง |
 |
19 ธ.ค. 2562 |
วันที่หมดอายุ |
 |
18 ธ.ค. 2563 |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
2.5 หน่วยกิต |
บทคัดย่อ
บทนำ
โรคเกาต์เป็นโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อย โดยทั่วโลกมีความชุกของผู้ป่วยโรคเกาต์อยู่ระหว่างร้อยละ 0.1-10 สำหรับประเทศไทยเคยมีการสำรวจพบความชุกอยู่ในช่วงร้อยละ 0.16 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ(1,2) โรคเกาต์เกิดจากการมีระดับกรดยูริกในซีรั่ม (serum uric acid; SUA) สูงเกินจุดอิ่มตัว (saturation point) แล้วเกิดตกตะกอนเป็นผลึกโมโนโซเดียมยูเรต (monosodium urate) ตามข้อส่วนรยางค์
ของร่างกาย (peripheral joints) และเนื้อเยื่อโดยรอบ(1,2) ผู้ป่วยมักมีการอักเสบของเยื่อบุผิวข้อเดี่ยว (monoarticular synovitis) ที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันทำให้ได้รับความเจ็บปวดมาก และมักหายได้เอง
ภายในระยะเวลา 1-2 สัปดาห์(2) และมีการสะสมของผลึกโมโนโซเดียมยูเรตในข้อระยะยาวจนเกิดเป็น
ก้อนโทฟัสในชั้นใต้ผิวหนัง (subcutaneous tophus) ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ข้อผิดรูปหรือถูกทำลาย
จนเกิดความพิการได้ การรักษาโรคเกาต์อย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีรวมทั้งป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จากตัวโรค(1,2)
ในบทความนี้ได้คัดเลือกแนวเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคเกาต์ที่สำคัญจำนวน 6 ฉบับ ซึ่งผู้เขียน
เห็นว่า เป็นแนวเวชปฏิบัติที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายหรือได้รับการอ้างอิงบ่อยครั้ง ได้แก่
แนวเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคเกาต์โดยสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2555(1),
แนวเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคเกาต์โดยวิทยาลัยแพทย์โรคข้ออเมริกัน (the American College of Rheumatology; ACR) ปีพ.ศ. 2555(3,4), แนวเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคเกาต์โดยกลุ่ม the Evidence, Expertise, Expertise (3e) Initiative ปีพ.ศ. 2557(5), แนวเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคเกาต์โดยสมาคม
ความร่วมมือโรคข้อแห่งยุโรป (the European League Against Rheumatism; EULAR) ปีพ.ศ. 2559(6), แนวเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคเกาต์โดยวิทยาลัยแพทย์อเมริกัน (the American College of Physician; ACP) ปี พ.ศ. 2560(7,8) และแนวเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคเกาต์โดยสมาคมโรคข้อแห่งประเทศอังกฤษ
(the British Society for Rheumatology; BSR) ปีพ.ศ. 2560(9) มาสรุปและเปรียบเทียบรายละเอียด
โดยเน้นในด้านการดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นหลัก ผู้เขียนมีจุดมุ่งหมายให้ผู้อ่านได้มองเห็นประเด็นที่คล้ายคลึง
และแตกต่างหรือขัดแย้งกัน และสามารถพิจารณานำไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยโรคเกาต์แต่ละรายได้อย่างเหมาะสม
คำสำคัญ
Gout, Guideline, Colchicine, Allopurinol, Nonsteroidal anti-inflammatory drugs, NSAIDs
วิธีสมัครสมาชิก
มีขั้นตอน ดังนี้
1. ให้สมัครสมาชิกเว็บไซต์ก่อนที่ หัวข้อ สมัครสมาชิกทั่วไป ตามลิ้ง
http://pharmacy.cmu.ac.th/CPE/register.php
2. หลังจากนั้น นำรหัสผ่านที่แจ้งใน mail ที่สมัครไว้มาเข้าสู่ระบบ
http://pharmacy.cmu.ac.th/CPE/login.php
3. หลังจากเข้าสู่ระบบเรียบร้อยก็สามารถ
1. Download บทความวิชาการ ได้
2. ทำแบบทดสอบออนไลน์เพื่อเก็บ CPE ต้องสมัครเป็นสมาชิกแล้วจ่ายเงินค่าสมัครปีละ 200.-บาท
3. โอนเงินเข้าที่ธนาคารที่แจ้งไว้ แลัวนำ Slip มาอัพโหลด ในหัวข้อ การชำระเงิน/แจ้งชำระเงิน
4. รอเจ้าหน้าที่เช็คหลักฐานการชำระเงิน หากเรียบร้อยก็สามารถเข้าทำแบบทดสอบ
|