ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
การใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ Antimicrobial Use in Bacterial Urinary Tract Infections
ชื่อบทความ การใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ Antimicrobial Use in Bacterial Urinary Tract Infections
ผู้เขียนบทความ ภญ.ศุภานันท์ ปึงเจริญกิจกุล ,ภก.วิชัย สันติมาลีวรกุล
สถาบันหลัก กองบริหารการสาธารณสุข
รหัสกิจกรรม 3003-1-000-002-12-2562
ผู้ผลิตบทความ กองบริหารการสาธารณสุข
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 02 ธ.ค. 2562
วันที่หมดอายุ 01 ธ.ค. 2563
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (urinary tract infection; UTI) เป็นโรคติดเชื้อที่พบได้บ่อยใน ทางคลินิก ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์การดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อ Escherichia coli (E. coli) ทำให้ยาต้านจุลชีพที่ใช้รักษามีความซับซ้อนมากขึ้น จากรายงานของศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ (National Antimicrobial Resistance Surveillance Center Thailand; NARST) ปี พ.ศ. 2562 ได้รวบรวมข้อมูลจาก 79 โรงพยาบาลทั่วประเทศ พบว่าเชื้อ E. coli ที่แยกได้จากน้ำปัสสาวะจำนวน 25,012 สายพันธุ์ มีความไวต่อยา ciprofloxacin และ levofloxacin เพียงร้อยละ 33.1 และ 39.1 ตามลำดับ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์การดื้อยากลุ่ม fluoroquinolones ของเชื้อ E. coli (quinolone resistant E. coli; QREC) เป็นจำนวนมาก ยิ่งไปกว่านั้นเชื้อ E. coli ยังดื้อต่อยา cotrimoxazole และ ยา tetracycline โดยมีความไวต่อยาเพียงร้อยละ 42 และ 35.7 ตามลำดับ(1) เพื่อให้การเลือกยาต้านจุลชีพที่เหมาะสม และ หลีกเลี่ยงปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ ในบทความนี้จึง ขอกล่าวถึงการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เชื้อจุลชีพที่เป็นสาเหตุ การวินิจฉัยและการตรวจทางห้องปฏิบัติการสำหรับวินิจฉัยการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และ การใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งมีรายละเอียดในลำดับถัดไป
คำสำคัญ