การตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ในการป้องกันผื่นแพ้ยาแบบรุนแรง (severe cutaneous adverse reactions: SCARs)
ชื่อบทความ |
 |
การตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ในการป้องกันผื่นแพ้ยาแบบรุนแรง (severe cutaneous adverse reactions: SCARs) |
ผู้เขียนบทความ |
 |
อาจารย์ ภก. นเรนทร์ฤทธิ์ กรุณา |
สถาบันหลัก |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
รหัสกิจกรรม |
 |
1003-1-000-002-11-2562 |
ผู้ผลิตบทความ |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
การเผยแพร่บทความ |
 |
ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน |
วันที่ได้รับการรับรอง |
 |
12 พ.ย. 2562 |
วันที่หมดอายุ |
 |
11 พ.ย. 2563 |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
2.5 หน่วยกิต |
บทคัดย่อ
บทนำ
อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (adverse drug reactions: ADRs) พบได้บ่อยว่าเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วย และการเสียชีวิต จากรายงานอุบัติการณ์พบอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในระดับรุนแรง (severe ADRs) ได้ร้อยละ 6.7 ของผู้ป่วยที่นอนในโรงพยาบาล(1) โดยทั่วไปแล้ว อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ type A และ type B reactions ทั้งนี้ การเกิดผื่นแพ้ยาที่ผิวหนัง
แบบรุนแรง (severe cutaneous adverse reactions: SCARs) ถูกจัดอยู่ในกลุ่มอาการไม่พึงประสงค์แบบ type B reactions ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา แม้ว่าจะพบอุบัติการณ์ของการเกิดผื่น
แพ้ยาแบบรุนแรงค่อนข้างต่ำประมาณร้อยละ 2-3 ของผู้ป่วยที่นอนในโรงพยาบาล แต่เป็นเหตุการณ์ที่มีอัตรา
การเสียชีวิตสูง (ร้อยละ 10-40) และก่อให้เกิดทุพพลภาพตามมาได้(2) โดยผื่นแพ้ยาแบบรุนแรงนั้นจะประกอบไปด้วย Stevens-Johnson syndrome (SJS), toxic epidermal necrolysis (TEN), drug reaction with eosinophilia and systemic symptoms (DRESS) และ acute generalized exanthematous pustulosis (AGEP) ซึ่งการศึกษาก่อนหน้าพบว่า มีหลายปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดผื่นแพ้ยาแบบรุนแรงได้ โดยปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญคือ ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม(3-5)
ปัจจุบันมีการศึกษาที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านพันธุกรรมและการเกิดแพ้ยาแบบรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาที่บ่งชี้ว่าลักษณะทางพันธุกรรมยีนแบบ HLA-B*15:02 มีความสัมพันธ์กับการเกิดผื่นแพ้ยาแบบ SJS/TEN จากการรักษาด้วยยา carbamazepine
อย่างชัดเจนในประชากรกลุ่มเอเชีย เช่น ไทย มาเลเซีย อินเดีย และจีนฮั่น(6-8) นอกจากนี้ ยังพบว่ามียาอื่นๆ
ที่มีรายงานว่า ปัจจัยทางด้านพันธุกรรมมีความสัมพันธ์กับการเกิดผื่นแพ้ยาแบบรุนแรง เช่น ยา allopurinol, phenytoin และ phenobarbital เป็นต้น(5)
เภสัชพันธุศาสตร์ (pharmacogenomics: PGx) เป็นการศึกษาอิทธิพลของลักษณะทางพันธุกรรม
ที่ส่งผลต่อการตอบสนองของยาทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและความเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์(9) โดยการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ (PGx test) นั้น จะช่วยให้บุคคลากรทางการแพทย์เลือกใช้ยาได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยมากขึ้น เนื่องจากการตรวจดังกล่าวอาจช่วยคัดกรองผลลัพธ์ที่ไม่ต้องการจากการรักษาด้วยยาได้ โดยเภสัชกรเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาของผู้ป่วยโดยตรงและมีส่วนช่วยในการเลือกใช้ยา
ให้เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย ดังนั้น ความเข้าใจข้อมูลพื้นฐานและทราบถึงคู่ยีนและยาที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ โดยเฉพาะการเกิดผื่นแพ้ยาแบบรุนแรงจะเป็นประโยชน์ต่อการดูแลผู้ป่วยให้ได้รับยาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ
ผื่นแพ้ยาแบบรุนแรง, การตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์, SCARs และ human leukocyte antigen
วิธีสมัครสมาชิก
มีขั้นตอน ดังนี้
1. ให้สมัครสมาชิกเว็บไซต์ก่อนที่ หัวข้อ สมัครสมาชิกทั่วไป ตามลิ้ง
http://pharmacy.cmu.ac.th/CPE/register.php
2. หลังจากนั้น นำรหัสผ่านที่แจ้งใน mail ที่สมัครไว้มาเข้าสู่ระบบ
http://pharmacy.cmu.ac.th/CPE/login.php
3. หลังจากเข้าสู่ระบบเรียบร้อยก็สามารถ
1. Download บทความวิชาการ ได้
2. ทำแบบทดสอบออนไลน์เพื่อเก็บ CPE ต้องสมัครเป็นสมาชิกแล้วจ่ายเงินค่าสมัครปีละ 200.-บาท
3. โอนเงินเข้าที่ธนาคารที่แจ้งไว้ แลัวนำ Slip มาอัพโหลด ในหัวข้อ การชำระเงิน/แจ้งชำระเงิน
4. รอเจ้าหน้าที่เช็คหลักฐานการชำระเงิน หากเรียบร้อยก็สามารถเข้าทำแบบทดสอบ