ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
การรักษาผู้ป่วยแผลไหม้ชนิดรุนแรงน้อย (minor burns) ในร้านยา
ชื่อบทความ การรักษาผู้ป่วยแผลไหม้ชนิดรุนแรงน้อย (minor burns) ในร้านยา
ผู้เขียนบทความ เภสัชกรหญิง พิมพ์วรีย์ วรรณศิริ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาจารย์เภสัชกรหญิง สิรินุช พละภิญโญ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2002-1-000-010-09-2562
ผู้ผลิตบทความ สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 04 ต.ค. 2562
วันที่หมดอายุ 03 ต.ค. 2563
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
แผลจากอุบัติไฟไหม้น้ำร้อนลวกส่วนใหญ่สามารถดูแลโดยหน่วยบริการปฐมภูมิในรูปแบบผู้ป่วยไปกลับ การประเมินแผล การปฐมพยาบาล และความเร็วของการเข้าถึงการรักษาเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากความรุนแรงของแผลไหม้นั้นขึ้นกับอุณหภูมิและระยะเวลาที่สัมผัสสาเหตุ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาทันท่วงทีจะเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตและลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน เมื่อเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้น้ำร้อนลวก ผู้ป่วยที่มีแผลขนาดเล็กหรือได้รับบาดเจ็บไม่รุนแรงมักเลือกเข้ารับบริการเบื้องต้นที่ร้านยา เนื่องจากสามารถเข้าถึงได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว ร้านยาจึงเป็นที่พึ่งพิงใกล้ชิดของคนในชุมชน เภสัชกรประจำร้านยาหรือเภสัชกรชุมชนมีบทบาทสำคัญในการประเมินแผล เช่น การซักประวัติ ค้นหาสาเหตุ ประเมินความลึกและขนาดของแผล ให้คำแนะนำการดูแลแผลไหม้ชนิดไม่รุนแรงทั้งการดูแลการหายของแผล ลดโอกาสในการติดเชื้อของแผล และบรรเทาอาการปวดหรืออาการร่วมอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมถึงการปฐมพยาบาลแผลเบื้องต้นและคัดกรองผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุไฟไหม้น้ำร้อนลวกชนิดรุนแรงเพื่อส่งต่อผู้ป่วยอย่างเหมาะสม1 ดังนั้นการทบทวนความรู้เกี่ยวกับประเภท การประเมินความรุนแรง และแนวการปฏิบัติรักษาผู้ป่วยที่มีแผลไหม้เบื้องต้น รวมถึงการให้คำแนะนำดูแลแผลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จึงมีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของเภสัชกรในร้านยา
คำสำคัญ
แผลไหม้ชนิดรุนแรงน้อย, อุบัติเหตุไฟไหม้น้ำร้อน, การปฐมพยาบาลแผลไหม้, การประเมินไหม้แผล, ยาทาแผลไหม้,