ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
Topical scar products
ชื่อบทความ Topical scar products
ผู้เขียนบทความ ผศ.ดร.ภูริดา เวียนทอง รศ.ภญ.ชบาไพร โพธิ์สุยะ
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2002-1-000-009-09-2562
ผู้ผลิตบทความ สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 03 ต.ค. 2562
วันที่หมดอายุ 02 ต.ค. 2563
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
บาดแผลที่เกิดขึ้นบนผิวหนังทำให้มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อและเส้นเลือด ร่างกายจะมีกลไกในการซ่อมแซมตนเองเพื่อให้เกิดการหายของแผล มีการสร้างเนื้อเยื่อและคอลลาเจนใหม่ ซึ่งสุดท้ายมักตามมาด้วยการเกิดรอยแผลเป็น แผลเป็นแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ แผลเป็นทางยาว แผลเป็นนูน และแผลเป็นคีลอยด์ การดูแลแผลอย่างถูกต้องตั้งแต่ระยะเริ่มแรกเช่น การทำความสะอาดและป้องกันการติดเชื้อ การให้ความชุ่มชื้นแก่แผล การหลีกเลี่ยงแสงแดด จะช่วยลดโอกาสการเกิดแผลเป็นนูนและแผลเป็นคีลอยด์ได้มาก ผลิตภัณฑ์เฉพาะที่สำหรับดูแลแผลเป็นในร้านยามีสารสำคัญหลายชนิด เช่น ซิลิโคน สารสกัดจากหัวหอม วิตามินอี ว่านหางจระเข้ ชาเขียว และสารสกัดจากใบบัวบก ผลการวิจัยพบว่าซิลิโคนลดอุบัติการณ์ของแผลเป็นนูนในผู้ป่วยกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนสารสกัดจากหัวหอมผลการศึกษายังมีความหลากหลาย สำหรับสารอื่นๆ ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพการลดแผลเป็นไม่มากนัก การให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันและรักษารอยแผลเป็น และการเลือกผลิตภัณฑ์ลดรอยแผลเป็นอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายจะช่วยลดการเกิดแผลเป็น และเพิ่มคุณภาพชีวิตทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม
คำสำคัญ
แผลเป็น ซิลิโคน สารสกัดจากหัวหอม, scar, silicone, onion extract, hypertrophic scar,