บทความวิชาการ
การใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ในผู้สูงอายุ
ชื่อบทความ การใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ในผู้สูงอายุ
ผู้เขียนบทความ อ. ภญ.สิรินุช พละภิญโญ, ภญ.หทัยทิพย์ หอมแสงประดิษฐ, ภญ.วาทินี ลิ้มเลิศมงคล, ภญ.ปานชีวัน อินอ่อน
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-1-000-006-09-2562
ผู้ผลิตบทความ กลุ่มเครือข่ายเภสัชกร ร้านยา ซูรูฮะ
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 04 ก.ย. 2562
วันที่หมดอายุ 03 ก.ย. 2563
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs: NSAIDs) เป็นยาที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในเวชปฏิบัติเนื่องจากเป็นยาที่มีข้อบ่งใช้เพื่อลดอาการปวดและการอักเสบจากสาเหตุต่าง ๆ ซึ่งเป็นอาการนำอาการสำคัญที่เป็นเหตุผลให้ผู้ป่วยเข้ารับบริการในสถานพยาบาลโดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุซึ่งมักมีโรคที่เกี่ยวข้องกับความปวด เช่น ปวดข้อเข่าจากภาวะข้อเสื่อม หรือ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและเอ็นจากการที่มีกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายลดลง แม้ว่า NSAIDs จะมีประโยชน์ในการบรรเทาความทุกข์ทรมานจากความปวดในผู้ป่วยเหล่านี้แต่ก็มีความเสี่ยงจากอาการไม่พึงประสงค์ของยากลุ่มนี้หลายประการซึ่งอาจมีความชุกและอันตรายมากขึ้นในผู้ป่วยสูงอายุ เช่น ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร ความเป็นพิษต่อหัวใจและหลอดเลือด ความเป็นพิษต่อไต และ อันตรกิริยากับยาอื่นที่ผู้สูงอายุใช้อยู่เป็นประจำ1 บทความนี้จึงมีขึ้นเพื่อทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับเภสัชวิทยาของยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ อาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญของยากลุ่มนี้ และ แนวทางการเพิ่มความปลอดภัยจากการใช้ยากลุ่มนี้ในผู้สูงอายุ
คำสำคัญ