บทความวิชาการ
โรคเก๊าท์ (Gout)
ชื่อบทความ โรคเก๊าท์ (Gout)
ผู้เขียนบทความ ภก.ปริญญา ปั้นพล
สถาบันหลัก สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
รหัสกิจกรรม 5003-1-000-002-09-2562
ผู้ผลิตบทความ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 01 ก.ย. 2562
วันที่หมดอายุ 31 ส.ค. 2563
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โรคเก๊าท์ (Gout) เป็นโรคที่มีการเกาะของยูริกที่ข้อ ทำให้เกิดข้ออักเสบ ข้อผิดรูป และอาจส่งผลกระทบต่อไตได้ เกิดจากกระบวนการใช้และขับถ่ายสารพวกพิวรีนของร่างกายผิดปกติ ทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้นและสะสมในร่างกาย โดยอาการปวดมักมีปัจจัยกระตุ้น เช่น อาหารที่มีกรดยูริกสูง แอลกอฮอล์ วินิจฉัยได้โดยการซักประวัติ ตรวจระดับกรดยูริกในเลือดและปัสสาวะ เจาะตรวจน้ำในข้อ หรือถ่ายภาพรังสี การรักษาโรคเก๊าท์ประกอบไปด้วยการควบคุมปัจจัยเสี่ยงและการรักษาด้วยยา ยากลุ่มเก่าที่ใช้รักษา ได้แก่ ยาสำหรับลดระดับกรดยูริกในเลือด และยาสำหรับรักษาอาการและอาการแสดงของโรคเก๊าท์ ในปัจจุบันมีการศึกษายากลุ่มใหม่ที่ใช้เพื่อรักษาในภาวะฉุกเฉิน เช่น ยาในกลุ่ม Uricase และ interleukin-1 (IL-1) inhibitors ซึ่งอาจให้ประสิทธิภาพการรักษาที่ดีขึ้น รวมถึงลดระดับกรดยูริกในเลือดและลดอาการของการอักเสบของโรคได้อย่างรวดเร็ว
คำสำคัญ
โรคเก๊าท์, Gout, Hyperuricemia, Purine, febuxostat, allopurinol, Uricase, IL-1 inhibitors