ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
Alzheimer’s disease
ชื่อบทความ Alzheimer’s disease
ผู้เขียนบทความ ภก.ปริญญา ปั้นพล
สถาบันหลัก สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
รหัสกิจกรรม 5003-1-000-001-09-2562
ผู้ผลิตบทความ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 01 ก.ย. 2562
วันที่หมดอายุ 31 ส.ค. 2563
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โรคอัลซไฮเมอร์ (Alzheimer’s disease) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของกลุ่มอาการสมองเสื่อม โดยปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคืออายุที่มากขึ้น ส่วนใหญ่มักไม่ทราบสาเหตุและไม่เกี่ยวกับกรรมพันธุ์ ทั้งนี้พบการผ่าเหล่าของยีนที่สร้างโปรตีน ทำให้มีการสร้าง beta-amyloid peptide ที่มีจำนวนกรดอะมิโน 42 ตัว มีลักษณะหนาแน่นกว่าปกติ ซึ่งเชื่อว่าเป็นพิษต่อสมอง และทำให้เกิดเซลล์สมองตาย สูญเสียการสื่อสารทาง synapse และสร้าง neurofibrillary tangles (NFTS) และ senile plaques (SPS) อาการของผู้ป่วยโรคอัลซไฮเมอร์แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ mild, moderate และ severe โดยจะมีปัญหาด้านความจำและด้านพฤติกรรมหรืออารมณ์ที่รุนแรงขึ้นในแต่ละระยะ เช่น ขี้ลืม สูญเสียสมาธิ ประสาทหลอน เคลื่อนไหวช้าลง จนกระทั่งทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองไม่ได้ โรคนี้วินิจฉัยโดยการซักประวัติและการตรวจร่างกายเป็นหลัก ร่วมกับการประเมินการทำงานของสมอง และอาจมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อแยกจากโรคอื่น โรคอัลซไฮเมอร์ไม่สามารถป้องกัน และรักษาได้ แต่สามารถใช้ยาเพื่อช่วยประคับประคองอาการและชะลอการดำเนินของโรค ยาหลักที่ใช้คือยาในกลุ่ม centrally acting cholinesterase inhibitors (ChEIs) เพื่อเพิ่มระดับ acetylcholine ในสมอง และในผู้ป่วยระยะ moderate และ severe ยังมีการใช้ memantine ซึ่งเป็น partial NMDA antagonist นอกจากการใช้ยา ยังจำเป็นต้องดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารครบถ้วนและดูแลสุขภาพโดยรวม ไม่ให้เป็นโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ความดัน เบาหวาน หรือโรคติดเชื้อต่าง ๆ
คำสำคัญ
โรคอัลซไฮเมอร์, Alzheimer’s disease, สมองเสื่อม, dementia, beta-amyloid peptide, centrally acting ch