ชื่อบทความ |
 |
ถั่วเหลืองกับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน |
ผู้เขียนบทความ |
 |
ธิดารัตน์ จันทร์ดอน |
สถาบันหลัก |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
รหัสกิจกรรม |
 |
1002-1-000-011-07-2562 |
ผู้ผลิตบทความ |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
การเผยแพร่บทความ |
 |
เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ |
วันที่ได้รับการรับรอง |
 |
25 ก.ค. 2562 |
วันที่หมดอายุ |
 |
24 ก.ค. 2563 |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
2 หน่วยกิต |
บทคัดย่อ
ถั่วเหลือง (Glycine max (L.) Merr.) ประกอบด้วยสารสำคัญกลุ่มไอโซฟลาโวน (isofalvones) มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogenic activity) ทำหน้าที่ควบคุมอวัยวะระบบสืบพันธุ์เพศหญิง และมีการศึกษาทางคลินิกพบว่ามีผลลดอาการต่าง ๆ ของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนได้ เช่น อาการร้อนวูบวาบ ผลต่อระดับไขมันและระดับน้ำตาลในเลือด ผลต่อความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ผลต่อกระดูก และผลต่อการเรียนรู้ ความคิดและความเข้าใจ อย่างไรก็ตามควรบริโภคถั่วเหลืองในปริมาณที่เหมาะสม ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะมีความรุนแรงของอาการต่าง ๆ ไม่เท่ากัน จึงควรพบแพทย์เพื่อพิจารณาการรักษาตามความเหมาะสมเป็นราย ๆ ไป การบริโภคถั่วเหลืองอาจมุ่งเน้นในเรื่องของการช่วยบรรเทาอาการ หรือช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ แต่งานวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิผลในการรักษา ยังคงต้องทำการวิจัยต่อไป และมีข้อควรระวังการบริโภคถั่วเหลืองในผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม หรือผู้ที่มีความสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม เนื่องจากเป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนเอสโตรเจน ถึงแม้ว่ามีบางรายงานระบุว่าถั่วเหลืองมีผลลดอัตราการเกิดมะเร็งเต้านมได้ อย่างไรก็ตามควรระมัดระวังการบริโภคถั่วเหลืองหรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองไม่ให้สูงจนเกินไป จนกว่าจะมีผลการศึกษาที่ชัดเจน นอกจากนี้ยังมีการทดลองพบว่าการบริโภคถั่วเหลืองมีผลต้านฤทธิ์ของยารักษามะเร็งในหนูทดลองที่เป็นมะเร็งเต้านม และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองมีปริมาณ Vitamin K สูง อาจมีผลต่อกลไกการออกฤทธิ์ของยาต้านการแข็งตัวของเลือด จึงควรระมัดระวังในผู้ป่วยที่รับประทานยาวาร์ฟาริน
คำสำคัญ
ถั่วเหลือง, ไอโซฟลาโวน (isoflavones), ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน (menopause)
วิธีสมัครสมาชิก
สมัครสมาชิก Online ได้ที่
http://www.medplant.mahidol.ac.th/members/NewsletterForm.asp