ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
การแบ่งระดับชั้นความสำคัญของสินค้าคงคลังและการให้บริการด้านเวชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ด้านการแพทย์ต่าง ๆ
ชื่อบทความ การแบ่งระดับชั้นความสำคัญของสินค้าคงคลังและการให้บริการด้านเวชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ด้านการแพทย์ต่าง ๆ
ผู้เขียนบทความ ภญ.จิรวรรณ โอพรสวัสดิ์
สถาบันหลัก เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
รหัสกิจกรรม 2001-1-000-007-04-2562
ผู้ผลิตบทความ เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 01 เม.ย. 2562
วันที่หมดอายุ 31 มี.ค. 2563
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ ปัจจุบัน เจ้าของธุรกิจต่างๆ หันมาให้ความสำคัญกับแนวทางการดำเนินงานลดต้นทุนในกระบวนการผลิตและให้บริการเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่ออำนวยความสะดวก และจัดการระบบการทำงานให้มีความถูกต้อง แม่นยำ และมีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบติดตามผลได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น ไม่เพียงแต่ธุรกิจด้านอุปโภคบริโภค หรือเทคโนโลยีต่างๆ แต่รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องด้านการแพทย์ อาทิ ร้านยา ที่การแข่งขันมีความรุนแรง และปรับรูปแบบการตลาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ร้านยาแบบดั้งเดิม หรือธุรกิจขายส่งยาบางกิจการ ไม่สามารถปรับตัวได้ ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรายได้ที่ลดลงอย่างชัดเจน ดังนั้น เพื่อให้ธุรกิจร้านยาที่มีบุคลากรปฏิบัติงาน และเงินทุนจำนวนจำกัด ได้เรียนรู้แนวทางการบริหารจัดการสต๊อกสินค้าอย่างเป็นระบบเพื่อเพิ่มรายได้ และสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ จึงได้นำเสนอแนวทางปฏิบัติ ที่สามารถนำไปปรับใช้ และนับเป็นหนึ่งในแนวทางที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างมากว่าเป็นหนทางสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนในธุรกิจ คือ การลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยการลดปริมาณถือครองสินค้าอย่างเป็นระบบเริ่มด้วยการเก็บบันทึก และรวบรวมข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า และความต้องการซื้อจริงในอดีตมาประมวลผลผ่านกระบวนการทางสถิติ เพื่อใช้พยากรณ์และวางแผนคำสั่งซื้อ การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง ให้ต้นทุนในกระบวนการ มีความเหมาะสม และสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและคล่องตัวให้การเติมเต็มสินค้ามีความสะดวก แม่นยำ รวดเร็ว ลดปริมาณแรงงาน และระยะเวลา การทำงานอีกด้วย ทั้งนี้ แม้การบริหารจัดการสินค้าคงคลังของร้านค้าส่งยา จะมีรูปแบบที่เฉพาะต่างจากสินค้าอุปโภคบริโภคโดยทั่วไปบ้าง แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึงเช่นเดียวกันคือ ระบบ และการจัดการต้นทุนที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การทำงาน (Do Less, Get More) ให้สอดคล้องกับรูปแบบธุรกิจที่เจ้าของกิจการมีบุคลากร และทรัพยากรต่างๆ จำกัด
คำสำคัญ
คำสำคัญ : การบริหารจัดการคลังสินค้า และสินค้าคงคลัง การจัดลำดับความสำคัญของสินค้าในคลังสินค้า