บทความวิชาการ
PM2.5: ผลกระทบต่อสุขภาพและกลไกการเกิดพิษ
ชื่อบทความ PM2.5: ผลกระทบต่อสุขภาพและกลไกการเกิดพิษ
ผู้เขียนบทความ ดร.ภก.วงศกร สุเชาว์อินทร์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
รหัสกิจกรรม 1014-1-000-003-05-2562
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 01 พ.ค. 2562
วันที่หมดอายุ 30 เม.ย. 2563
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
มลภาวะทางอากาศซึ่งส่งผลร้ายต่อสุขภาพประชาชนชาวไทยเป็นอย่างมากในขณะนี้คือ PM2.5 หรือฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน อันเกิดจากการเผาในที่โล่ง โรงงานอุตสาหกรรม การขนส่ง รวมถึงจากที่พักอาศัย โดย PM2.5 มีกลไกที่สำคัญในการเกิดพิษคือก่อให้เกิดภาวะเครียดออกซิเดชันและกระตุ้นกระบวนการอักเสบของร่างกาย ปัจจุบันมีงานวิจัยหลายฉบับซึ่งแสดงถึงผลกระทบของ PM2.5 ในบรรยากาศต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้มีผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก รวมถึงระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาทส่วนกลางและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอดได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงผลกระทบของ PM2.5 ต่อสุขภาพมนุษย์ในด้านอื่นๆ ในอนาคต เพื่อให้เข้าใจและหลีกเลี่ยงมลภาวะดังกล่าวได้อย่างถูกต้องต่อไป
คำสำคัญ
พีเอ็ม2.5 ฝุ่นพิษ มลภาวะทางอากาศ มะเร็งปอด ภาวะเครียดออกซิเดชัน