บทความวิชาการ
ยาชีววัตถุ และยาชีววัตถุที่คล้ายคลึง: การผลิตและพัฒนาทางคลินิก (Biotherapeutics & Biosimilar: Manufacturing & Clinical Development) Mobile CPE 5
ชื่อบทความ ยาชีววัตถุ และยาชีววัตถุที่คล้ายคลึง: การผลิตและพัฒนาทางคลินิก (Biotherapeutics & Biosimilar: Manufacturing & Clinical Development) Mobile CPE 5
ผู้เขียนบทความ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉราวรรณ โตภาคงาม
สถาบันหลัก เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
รหัสกิจกรรม 2001-1-000-004-04-2562
ผู้ผลิตบทความ เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 29 เม.ย. 2562
วันที่หมดอายุ 28 เม.ย. 2563
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ การควบคุมโรคเรื้อรังนับว่าเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับระบบสาธารณสุขทั้งในประเทศที่เจริญแล้วและประเทศกำลังพัฒนา นอกจากการพัฒนายาใหม่ๆให้มีประสิทธิภาพในการรักษาที่เพิ่มขึ้นแล้วยังต้องคำนึงถึงการเข้าถึงยาสำหรับผู้ป่วยทุกๆคนด้วย ซึ่งในปัจจุบันนี้การพัฒนายาใหม่ๆก็ได้นำเอาเทคโนโลยีทางชีวภาพมาใช้ในการพัฒนายา เพื่อให้เกิดยาที่ออกฤทธิ์ได้อย่างเฉพาะเจาะจง ได้ประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีและมีผลข้างเคียงในการรักษาน้อย ซึ่งยากลุ่มนี้เรียกว่า “ยาชีววัตถุ” ยาชีววัตถุนี้มีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนแตกต่างจากยาเคมีทั่วๆไป การเปลี่ยนแปลงสภาวะควบคุมการผลิตเพียงเล็กน้อยอาจส่งผลให้ได้ยาที่มีรูปแบบโครงสร้างที่แตกต่างกันได้ ดังนั้นหากมีการเลียนแบบโครงสร้างก็ไม่สามารถทำให้เหมือนกันได้ ซึ่งยาที่มีการเลียนแบบโครงสร้างขึ้นมานี้จะเรียกว่า “ยาชีววัตถุคล้ายคลึง” (Biosimilar)1 ยาชีววัตถุคล้ายคลึงที่มีการพัฒนาขึ้นมาจะมีกระบวนการขออนุมัติขึ้นทะเบียนที่แตกต่างจากยาชีววัตถุต้นแบบ โดยจะต้องมีข้อมูลที่บ่งบอกลักษณะโครงสร้างของยาชีววัตถุคล้ายคลึง เทียบกับยาชีววัตถุต้นแบบ ประกอบกับข้อมูลทางด้านคลินิก ที่ประเมินการตอบสนองต่อยาชีววัตถุของผู้ป่วยด้วย เพื่อนำมาประเมินการเทียบเคียงได้และความคล้ายคลึง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Stepwise Approach โดยจะต้องทำการศึกษาเปรียบเทียบความคล้ายคลึงกันใน 3 ส่วน ดังนี้ • คุณภาพของผลิตภัณฑ์ (Quality data) • ข้อมูลก่อนการศึกษาทางคลินิก (Pre-clinical data) • ข้อมูลการศึกษาทางคลินิก (Clinical data) ซึ่งการศึกษาความคล้ายคลึงนี้จะต้องทำการศึกษาในกลุ่มประชากรที่มีความเหมือนกันและไวเพียงพอที่จะบอกความแตกต่างได้ (Homogenous and Sensitive population) และควรทำการศึกษาแบบ Equivalence trial โดยจะต้องมีจำนวนประชากรเพียงพอที่จะบอกได้ถึงความแตกต่างที่อาจเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ยังต้องทำการศึกษาในส่วนของผลของการกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน (Immunogenicity) ด้วย การศึกษาความคล้ายคลึงของยาชีววัตถุคล้ายคลึงนั้นหากทำในกลุ่มประชากรที่มีความไวเพียงพอ และมีกลไกการออกฤทธิ์ของแต่ละข้อบ่งใช้เหมือนกัน จะสามารถทำการอนุมานผลของความคล้ายคลึงสู่ข้อบ่งใช้อื่นๆได้ เรียกว่า Extrapolation เนื่องจากยาชีววัตถุคล้ายคลึงไม่ใช่ยาสามัญ และไม่สามารถทำเสมือนกับยาต้นแบบได้ทั้งหมด นอกจากนั้นสูตรผสมในตำรับยาที่แตกต่างกัน อาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยาได้ ฉะนั้นเมื่อคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยแล้ว ยาเหล่านี้ไม่ควรจ่ายทดแทนโดยอัตโนมัติ (AUTOMATIC SUBSTITUTION) หรือจ่ายทดแทนโดยไม่มีการปรึกษาหรือไม่ได้รับอนุญาตจากแพทย์ผู้จ่ายยา หากมีความจำเป็นต้องสับเปลี่ยนยา ไม่ว่าจากยาต้นแบบไปยาชีววัตถุคล้ายคลึง หรือยาชีววัตถุคล้ายคลึงตัวหนึ่ง ไปยังยาชีววัตถุคล้ายคลึงอีกชนิดหนึ่ง ควรมีการศึกษาข้อมูลหรือข้อแนะนำจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือหน่วยงานที่ดูแลกำกับแนวทางการใช้ยาเหล่านี้ก่อนเสมอ ดังนั้นยาชีววัตถุคล้ายคลึงจึงจำเป็นต้องมีการติดตามผลการใช้หลังออกสู่ตลาด (Pharmacovigilance) หรือการจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น (Risk Management Plan) อย่างเคร่งครัด เพื่อแสดงให้เห็นถึงผลการใช้ในระยะยาว และควรมีการประเมินคุณภาพของยาเพื่อเลือกยาสำหรับใช้ในโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเกณฑ์ในการประเมินควรจะประกอบไปด้วย ข้อมูลประสิทธิภาพการรักษา, คุณภาพผลิตภัณฑ์, คุณภาพผู้ผลิต, ระบบการเก็บยาและกระจายยา, บรรจุภัณฑ์และฉลาก
คำสำคัญ
คำสำคัญ: Biotherapeutics, Biosimilar, Clinical Development, Pharmacovigilance, ชีวบำบัด, ยาชีววัตถุค