บทความวิชาการ
วัคซีนสำหรับผู้สูงวัย: วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมค็อกไค (Pneumococcal vaccines)
ชื่อบทความ วัคซีนสำหรับผู้สูงวัย: วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมค็อกไค (Pneumococcal vaccines)
ผู้เขียนบทความ รองศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พิณทิพย์ พงษ์เพ็ชร, รองศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.มะลิ วิโรจน์แสงทอง
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-1-000-004-04-2562
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 22 เม.ย. 2562
วันที่หมดอายุ 21 เม.ย. 2563
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โรคติดเชื้อนิวโมค็อกไค (pneumococcal disease) เกิดจากแบคทีเรีย Streptococcus pneumoniae ซึ่งมีมากกว่า 90 ซีโรทัยป์ (serotype) โดยซีโรทัยป์ที่แทรกซึมได้ (invasive serotypes) จะก่อให้เกิดการเจ็บป่วยที่รุนแรง คือ invasive pneumococcal disease (IPD) ได้ โดยเฉพาะในผู้สูงวัย (อายุมากกว่า 65 ปี) วัคซีนที่ใช้ป้องกันโรคนี้ในปัจจุบันมี 2 ชนิด คือวัคซีนที่ได้จากแคปซูลของเชื้อที่เป็นสารพอลิแซ็กคาไรด์ (pneumococcal polysaccharide vaccine, PPSV) และวัคซีนเชื่อมผนึก (pneumococcal conjugate vaccine, PCV) ที่ได้จากการเชื่อมผนึกของสารพอลิแซ็กคาไรด์และสารโปรตีน วัคซีนที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน ได้แก่ 1) PPSV-23 ที่ได้จากพอลิแซ็กคาไรด์ของเชื้อก่อโรคซีโรทัยป์ที่แทรกซึมได้ 23 ซีโรทัยป์ และ 2) PCV-13 ที่ได้จากพอลิแซ็กคาไรด์ของเชื้อก่อโรค 13 ซีโรทัยป์กับโปรตีนพาหะที่ไม่ก่อพิษ cross reacting material (CRM) ซึ่งเป็นผลจากการกลาย (mutant) ของสารพิษที่ก่อโรคคอตีบ (diphtheria toxin) วัคซีนทั้งสองชนิดนี้มีข้อดีข้อด้อยที่แตกต่างกัน PPSV-23 มีความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อเชื้อก่อโรคได้ครอบคลุมมากกว่าคือ 23 ซีโรทัยป์ ในขณะที่ PCV-13 มีคุณสมบัติเป็นแอนติเจนที่ดีกว่า จึงสามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อเชื้อก่อโรคในระดับที่สูงกว่า อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการให้วัคซีนนี้โดยเฉพาะในผู้สูงวัยจะแนะนำฉีดวัคซีนทั้งสองชนิดโดยให้ห่างกันไม่ต่ำกว่า 1 ปี
คำสำคัญ
pneumococcal polysaccharide vaccine (PPSV), pneumococcal conjugate vaccine (PCV), invasive pneumoco