บทความวิชาการ
Calcitonin gene-related peptide: เป้าหมายใหม่ของยารักษาและป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรน
ชื่อบทความ Calcitonin gene-related peptide: เป้าหมายใหม่ของยารักษาและป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรน
ผู้เขียนบทความ ปวริศ วงษ์ประยูร
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
รหัสกิจกรรม 1006-1-000-001-04-2562
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 02 เม.ย. 2562
วันที่หมดอายุ 01 เม.ย. 2563
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
อาการปวดศีรษะไมเกรนเป็นอาการปวดศีรษะที่พบได้บ่อย เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของระบบประสาทและหลอดเลือดบริเวณกะโหลกศีรษะ ยาที่ใช้ในการรักษาและป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรนในปัจจุบันยังคงมีข้อจำกัดในแง่ของประสิทธิภาพ ผลข้างเคียงและความร่วมมือในการรักษา นำไปสู่การพัฒนายาใหม่ที่มีเป้าหมายจำเพาะยิ่งขึ้น ปัจจุบันเป้าหมายหนึ่งที่น่าสนใจในการพัฒนายาคือ calcitonin gene-related peptide (CGRP) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทประเภท neuropeptide ที่มีบทบาทสำคัญในพยาธิสรีรวิทยาของอาการปวดศีรษะไมเกรน โดยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำสัญญาณรับรู้ความเจ็บปวด การขยายตัวของหลอดเลือดและการอักเสบของระบบประสาทในบริเวณใบหน้าและกะโหลกศีรษะ การยับยั้งการทำงานของ CGRP จึงช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากพยาธิสภาพดังกล่าว ปัจจุบันมีการพัฒนายาที่ยับยั้งการทำงานของ CGRP โดยแบ่งตามกลไกการออกฤทธิ์ยาเป็น 2 กลุ่มคือ 1. CGRP receptor antagonists ยากลุ่มนี้ยังอยู่ในระหว่างขั้นตอนวิจัยและพัฒนาเนื่องจากข้อจำกัดด้านผลข้างเคียงของยา และ 2. CGRP function-blocking monoclonal antibodies ที่มีการศึกษาทางคลินิกแสดงให้เห็นว่ายามีประสิทธิภาพที่ดี และผลข้างเคียงน้อยในการป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรน ดังนั้นยากลุ่มนี้จึงเป็นอีกหนึ่งความหวังใหม่สำหรับการป้องกันไมเกรนสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาต่อยาป้องกันไมเกรนกลุ่มเดิม หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถทนต่อผลข้างงเคียงจากยาป้องกันไมเกรนกลุ่มเดิมได้
คำสำคัญ
ปวดศีรษะ, ไมเกรน, calcitonin gene-related peptide, CGRP receptor antagonists, CGRP function-blocking