บทความวิชาการ
การใช้ยาและสมุนไพรที่กระตุ้นการหลั่งน้ำนมของสตรีให้นมบุตร
ชื่อบทความ การใช้ยาและสมุนไพรที่กระตุ้นการหลั่งน้ำนมของสตรีให้นมบุตร
ผู้เขียนบทความ รศ.ภญ.ชบาไพร โพธิ์สุยะ
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2002-1-000-004-03-2562
ผู้ผลิตบทความ สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 06 มี.ค. 2562
วันที่หมดอายุ 05 มี.ค. 2563
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ปัจจุบันมีการใช้ยาเพื่อกระตุ้นการหลั่งน้ำนมมากขึ้นเนื่องจากสตรีหลังคลอดจำนวนมากประสบปัญหาไม่มีน้ำนมหรือมีน้ำนมไม่เพียงพอ ยาที่มีผลกระตุ้นน้ำนมมีหลายกลุ่ม ส่วนใหญ่มีกลไกในการยับยั้งการหลั่งโดปามีนซึ่งเป็น prolactin-inhibiting factors ทำให้ระดับของโปรแลคตินเพิ่มขึ้น จึงมีผลต่อการสร้างและหลั่งน้ำนม ยาที่นิยมใช้ได้แก่ metoclopramide และ domperidone โดยยาทั้งสองชนิดนี้มีประสิทธิภาพดีในการเพิ่มระดับ prolactin และเพิ่มปริมาณน้ำนม และมีอาการไม่พึงประสงค์น้อยกว่ายากระตุ้นน้ำนมกลุ่มอื่น domperidone มีอาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบประสาทส่วนกลางน้อยกว่า และผ่านสู่น้ำนมได้น้อยกว่า metoclopramide อย่างไรก็ตามควรระวังการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่พบน้อยแต่รุนแรง เช่นการเกิด extrapyramidal disorders จากการใช้ metoclopramide และ QT prolongation, ventricular arrhythmia, sudden death จากการใช้ domperidone การใช้สมุนไพรเพื่อช่วยกระตุ้นและเพิ่มปริมาณน้ำนม เช่น หัวปลี ขิง ยังมีการศึกษาไม่มากนัก สมุนไพรที่มีการวิจัยยืนยันเกี่ยวกับการกระตุ้นน้ำนมในมนุษย์คือ ลูกซัด การใช้ยาเพื่อกระตุ้นการหลั่งน้ำนมควรใช้ในกรณีจำเป็นเท่านั้น โดยใช้ในระยะเวลาไม่เกิน 2-3 สัปดาห์ และควรให้คำแนะนำวิธีการปฏิบัติตนเพื่อช่วยกระตุ้นน้ำนมร่วมด้วยเสมอ
คำสำคัญ
ยากระตุ้นการหลั่งน้ำนม, สตรีให้นมบุตร, Metoclopramide, Domperidone