|
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568
ยายับยั้งการหลั่งกรดกลุ่ม proton pump inhibitors: เภสัชวิทยาและบทบาททางคลินิก
ชื่อบทความ |
 |
ยายับยั้งการหลั่งกรดกลุ่ม proton pump inhibitors: เภสัชวิทยาและบทบาททางคลินิก |
ผู้เขียนบทความ |
 |
รศ.ดร.ภญ. นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์ |
สถาบันหลัก |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
รหัสกิจกรรม |
 |
1002-1-000-005-03-2562 |
ผู้ผลิตบทความ |
 |
คลังข้อมูลยา |
การเผยแพร่บทความ |
 |
เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ |
วันที่ได้รับการรับรอง |
 |
25 มี.ค. 2562 |
วันที่หมดอายุ |
 |
24 มี.ค. 2563 |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
4 หน่วยกิต |
บทคัดย่อ
Proton pump inhibitors (PPIs) เป็นยายับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของโปรตอนปั๊ม (proton pump) หรือเอนไซม์ hydrogen/potassium adenosine triphosphatase (H+/K+ ATPase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำงานในขั้นตอนสุดท้ายของการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น omeprazole, esomeprazole, lansoprazole, dexlansoprazole, pantoprazole, rabeprazole ยาในกลุ่มนี้นำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางในการรักษาโรคหรือความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับกรดในกระเพาะอาหาร เช่น รักษาโรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease หรือ GERD) รักษาและควบคุมภาวะหลอดอาหารอักเสบมีแผล (erosive esophagitis) รักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร (gastric ulcers) รักษาโรคแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenal ulcers) รักษาและป้องกันการเกิดแผลในทางเดินอาหารจากการใช้ยาบรรเทาอาการอักเสบในกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID-induced ulcers) รักษาภาวะที่มีการหลั่งกรดมากเกิน (รวมถึง Zollinger-Ellison syndrome) รักษาการติดเชื้อ Helicobacter pylori โดยใช้ร่วมกับยาต้านจุลชีพ การใช้ยาในกลุ่มนี้อาจเสี่ยงต่อการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หลายอย่างโดยเฉพาะเมื่อใช้เป็นเวลานาน เช่น ลดการดูดซึมสารอาหาร ลดการดูดซึมเหล็ก ลดการดูดซึมวิตามินบี 12 เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ เกิดภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ เพิ่มความเสี่ยงต่อกระดูกหัก เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม เกิดผลเสียต่อไต ยับยั้งเอนไซม์ในกลุ่ม CYP450 จึงอาจเกิดปฏิกิริยากับยาได้หลายชนิด ทำให้ขณะนี้ในหลายประเทศได้มีการทบทวนการใช้ PPIs ในข้อบ่งใช้ต่างๆ รวมทั้งมีข้อแนะนำถึงแนวทางในการพิจารณาปรับลดการใช้ PPIs ทั้งการลดขนาดยา การลดระยะเวลาที่ใช้ยา การใช้ยาเป็นช่วงหรือการใช้ตามต้องการเมื่อจำเป็น และการหยุดใช้ เพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและปลอดภัย
คำสำคัญ
proton pump inhibitors, PPIs, omeprazole, esomeprazole, lansoprazole, dexlansoprazole, pantoprazole,
|