บทความวิชาการ
การใช้ยา ergotamine อย่างเหมาะสม
ชื่อบทความ การใช้ยา ergotamine อย่างเหมาะสม
ผู้เขียนบทความ ภญ.เพียงขวัญ ศรีมงคล
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
รหัสกิจกรรม 1009-1-000-004-12-2561
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 30 ธ.ค. 2561
วันที่หมดอายุ 29 ธ.ค. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ยา ergotamine เดิมสังเคราะห์ได้จากเชื้อรา Claviceps purpurea (ergot) ที่เจริญบนข้าวไรย์ (rye) เป็นสารกลุ่ม alkaloids และมีฤทธิ์ทางยา โดยถูกนำมาใช้รักษาไมเกรนครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1862 ที่ประเทศอิตาลี1 ปัจจุบันยามีข้อบ่งใช้สำหรับรักษาและป้องกันอาการของโรคไมเกรน (migraine) และอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ (cluster headache)2,3 องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริการับรองสำหรับบรรเทาและป้องกันของโรคไมเกรนและโรคปวดหัวที่เกิดจากหลอดเลือด (vascular headache)2 ยา ergotamine ที่มีในประเทศไทย เป็นชนิดเม็ดรับประทาน ประกอบด้วยตัวยาสำคัญ 2 ชนิดได้แก่ ergotamine tartrate 1 มิลลิกรัม และ caffeine 100 มิลลิกรัม การใช้ยาไม่เหมาะสมเช่น ใช้ยาเกินขนาด นำไปสู่อาการไม่พึงประสงค์หลายชนิด ที่สำคัญคือ เกิดอาการเนื้อเยื่อส่วนปลายขาดเลือดเป็นต้น
คำสำคัญ