บทความวิชาการ
บทบาทของยาโคลชิซีนกับการรักษาและป้องกันภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
ชื่อบทความ บทบาทของยาโคลชิซีนกับการรักษาและป้องกันภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
ผู้เขียนบทความ กนกกร เกิดผล, ภ.บ. จันทร์พร ก้องวัชรพงศ์, ภ.บ. (บริบาลทางเภสัชกรรม), ว.ภ. (เภสัชบำบัด)
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2003-1-000-004-12-2561
ผู้ผลิตบทความ สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 01 ธ.ค. 2561
วันที่หมดอายุ 30 พ.ย. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ยาโคลชิซีน (colchicine) เป็นยาที่มีการนำมาใช้เพื่อรักษาและป้องกันโรคเกาต์เฉียบพลัน อย่างไรก็ตาม ยังมีงานวิจัยฤทธิ์ของยาโคลชิซีนที่น่าสนใจอื่นอีก คือ การใช้เพื่อการรักษาและป้องกันภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (pericarditis) ทั้งในภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเฉียบพลันและภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบชนิดกลับเป็นซ้ำ โดยจากการศึกษาส่วนใหญ่ในภาวะเฉียบพลัน ใช้ยาโคลชิซีนในขนาด 0.5–0.6 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ในผู้ป่วยน้ำหนักตัว ≤70 กิโลกรัม หรือขนาด 0.5–0.6 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ในผู้ป่วยน้ำหนัก 70 กิโลกรัม นาน 3 เดือน โดยใช้ร่วมกับยา aspirin หรือยากลุ่มลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์นาน 1–2 สัปดาห์ ส่วนแนวทางการรักษาภาวะเยื่อหุ้มหัวใจชนิดกลับเป็นซ้ำจะพิจารณาให้ยา aspirin หรือยากลุ่มลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์หรือยาโคลชิซีนเป็นยาเดี่ยว หรือใช้ยาโคลชิซีนร่วมกับยา aspirin หรือยากลุ่มลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน นอกจากนี้ยังมีการใช้ยาโคลชิซีนเพื่อรักษาและป้องกันภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบสำหรับกลุ่มผู้ป่วยพิเศษ เช่น เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี และในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่องด้วย ทั้งนี้ ยาโคลชิซีนต้องได้รับการปรับขนาดยาตามน้ำหนัก อายุ หรือค่าการทำงานของไต ยาโคลชิซีนจัดเป็นข้อห้ามใช้สำหรับหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และผู้ป่วยโรคตับ การใช้ยาโคลชิซีนยังต้องระวังการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาปฏิชีวนะกลุ่ม macrolides, ยากลุ่ม statins, cyclosporine และ verapamil ซึ่งหากจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน มีคำแนะนำให้ปรับลดขนาดยาโคลชิซีนลง ส่วนอาการไม่พึงประสงค์ที่พบจากยาโคลชิซีนส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และปวดท้อง โดยพบประมาณร้อยละ 10
คำสำคัญ
โคลชิชีน, ภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ