บทความวิชาการ
การติดเชื้อคลอสตริเดียม ดิฟฟิไซล
ชื่อบทความ การติดเชื้อคลอสตริเดียม ดิฟฟิไซล
ผู้เขียนบทความ กิรติ เก่งกล้า
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
รหัสกิจกรรม 1011-1-000-003-12-2561
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 18 ธ.ค. 2561
วันที่หมดอายุ 17 ธ.ค. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
Clostridium difficile หรือ Clostridiodes difficile (C. difficile) เป็นเชื้อก่อโรคกลุ่มแบคทีเรียแกรมบวกรูปแท่งดำรงชีพโดยไม่อาศัยออกซิเจน (anaerobic gram-positive bacilli) ทำให้เกิดอาการที่สำคัญคืออุจจาระร่วง และมีความสัมพันธ์กับประวัติการได้รับยาปฏิชีวนะ โดยเฉพาะยาที่ออกฤทธิ์กว้าง (broad-spectrum antibiotics) เช่น ยา clindamycin ยากลุ่ม cephalosporins รุ่นที่ 2 และ 3 และยากลุ่ม carbapenems โดยเชื้อสามารถเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวน สร้างและหลั่งสารพิษ (toxin) ทำให้เกิดการ อักเสบของลำไส้ และอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ การเกิดพังผืดที่ลำไส้ (pseudomembranous colitis) บทความนี้จะทบทวนเนื้อหาเกี่ยวกับ ระบาดวิทยา สาเหตุ พยาธิกำเนิด การรักษา และการป้องกันการติดเชื้อคลอสตริเดียม ดิฟฟิไซล
คำสำคัญ
คลอสตริเดียม ดิฟฟิไซล, Clostridium difficile, antibiotic associated-diarrhea