บทความวิชาการ
โรคผิวหนังจากเชื้อราที่พบบ่อย (วารสารยาน่ารู้)
ชื่อบทความ โรคผิวหนังจากเชื้อราที่พบบ่อย (วารสารยาน่ารู้)
ผู้เขียนบทความ ภก.ดร.วิรัตน์ ทองรอด
สถาบันหลัก เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
รหัสกิจกรรม 2001-1-000-008-09-2561
ผู้ผลิตบทความ เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 01 ก.ย. 2561
วันที่หมดอายุ 31 ส.ค. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจโรคผิวหนังจากเชื้อราที่พบบ่อย 2. เพื่อให้เข้าใจถึงโรคเกลื้อนและการดูแลรักษา 3. เพื่อให้เข้าใจถึงโรคเกลากและการดูแลรักษา 4. เพื่อให้เข้าใจถึงโรคติดเชื้อจากแคนดิด้าและการดูแลรักษา บทคัดย่อ โรคผิวหนังจากเชื้อรา เป็นโรคที่พบบ่อยในชุมชน และผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาปรึกษาเภสัชกรที่ร้านยา ได้แก่ เกลื้อน กลาก และแคนดิด้า ซึ่งส่วนใหญ่มักพบในส่วนของร่างกายที่มีความอับชื้น หรือ ชื้นแฉะ เช่น บริเวณข้อพับ ซอกนิ้วเท้า ซอกขาหนีบ ปากช่องคลอด เยื่อบุช่องปาก เป็นต้น ก่อให้เกิดรอยโรคที่เริ่มจากจุดเล็กๆ ค่อยๆ ชยายกว้างออกไปรอบด้าน ตามสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวย และระยเวลาการเกิดโรค ทำให้มีอาการผื่นสีผิวเปลี่ยนแตกต่างจากผิวหนังรอยๆ หรือ เป็นผื่นแดง ตุ่มใสตามขอบ ชัดเจน หรือ ผิวหนังขาวลอกหลุด เป็นแผลแดง ซึ่งในปัจจุบันมียาต้านเชื้อราหลากหลายรูปแบบที่ได้ผลดีให้เลือกใช้ เช่น ยากลุ่ม Imidazole (Bifonazole Clotrimazole Isoconazole Ketoconazole Micronazole) Allylamine (Terbinafine) Tonaftate Whitfield’s ointment ฯลฯ ทั้งชนิดทาภายนอก ชนิดใช้เฉพาะที่ และชนิดรับประทาน จึงควรใช้ติดต่อกันตามระยะเวลาที่แนะนำของแต่ละโรค ตลอดจนจะต้องปฏิบัติดูแลตนเองโดยระมัดระวังความอับชื้น หรือ ชื้นแฉะในบริเวณที่เป็น เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นใหม่ จะได้ปลอดโรคผิวหนังดังกล่าวได้ตลอดไป
คำสำคัญ
คำสำคัญ: โรคผิวหนัง โรคผิวหนังจากเชื้อรา โรคผิวหนังจากเชื้อราที่พบบ่อย
วิธีสมัครสมาชิก
www.pat.or.th