บทความวิชาการ
การดูแลหญิงวัยหมดประจำเดือน
ชื่อบทความ การดูแลหญิงวัยหมดประจำเดือน
ผู้เขียนบทความ ภก.กฤติน บัณฑิตานุกูล
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมการตลาด (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2005-1-000-002-07-2561
ผู้ผลิตบทความ สมาคมเภสัชกรรมการตลาด (ประเทศไทย)
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 05 ก.ค. 2561
วันที่หมดอายุ 04 ก.ค. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
อาการของสตรีวัยหมดประจำเดือนที่พบได้บ่อยได้แก่ vasomotor symptoms (VMS), hot flashes และเหงื่อออกช่วงกลางคืน สำหรับอาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้แก่ การรบกวนการนอนหลับ อาการปวดตามข้อ ช่องคลอดแห้ง และเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ในสตรีบางรายอาจมีอาการทางอารมณ์และจิตประสาทร่วมด้วย โดยอาการผิดปกติมักจะเริ่มปรากฎประมาณ 1 ปีก่อนหมดประจำเดือน และอาจจะปรากฎต่อเนื่องหลังจากหมดประจำเดือนได้อีกเป็นเวลาหลายปี การใช้ฮอร์โมนทดแทน (HRT) เป็นการรกษาหลักที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการบรรเทาอาการทาง VMS และอาการผิดปกติของช่องคลอด อย่างไรก็ตามการใช้ HRT มีแนวโน้มที่ลดลงหลังจากมีการตีพิมพ์ผลการศึกษาของ Women’s Health Initiative (WHI) ในปี ค.ศ. 2002 ที่พบว่าการใช้ HRT ในสตรีวัยทองอาจส่งผลเสียมากกว่าผลดีในสตรีบางราย1 นอกจากนั้นในปัจจุบันมียาชนิดอื่น ๆ นอกจาก HRT ที่สามารถนำมาใช้ในการรักษาอาการผิดปกติในสตรีวัยทองได้ ดังนั้นในการพิจารณาเลือกใช้ยาในการรักษาอาการผิดปกติในสตรีวัยทองจึงควรมีการพิจารณาถึงข้อดีข้อเสียจากการใช้ HRT อาการผิดปกติของสตรีวัยหมดประจำเดือน โรคร่วมอื่น ๆ ร่วมด้วยเพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา
คำสำคัญ
หญิงวัยหมดประจำเดือน