บทความวิชาการ
รูปแบบเมลาโทนินและทางเลือกที่ใช้ใน การรักษาอาการนอนไม่หลับ
ชื่อบทความ รูปแบบเมลาโทนินและทางเลือกที่ใช้ใน การรักษาอาการนอนไม่หลับ
ผู้เขียนบทความ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.สุวิมล ยี่ภู่, รองศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.จุฑามณี สุทธิสีสังข์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-1-000-003-06-2561
ผู้ผลิตบทความ กลุ่มเภสัชกร ดีเคเอสเอช
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 23 มิ.ย. 2561
วันที่หมดอายุ 22 มิ.ย. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
มนุษย์ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น (young adult) ใช้เวลาในการนอนหลับแต่ละคืนเฉลี่ยประมาณ 7 – 8 ชั่วโมง โดยการนอนหลับสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ non-rapid-eye-movement (NREM) sleep และ rapid-eye-movement (REM) sleep เมื่อเริ่มเกิดการนอนหลับ จะมีการเข้าสู่ stage 1 NREM ในระยะเวลาสั้นๆ จากนั้นจึงตามด้วย stage 2 และ 3 NREM และในที่สุดจะเข้าสู่ REM ซึ่งการนอนหลับแต่ละครั้งจะเกิดวงจรของ NREM และ REM สลับกันไปตลอดคืน พบว่าการนอนชนิด NREM และ REM เกิดขึ้นประมาณร้อยละ 75 – 80 และร้อยละ 20 – 25 ของเวลาที่ใช้ในการนอนทั้งหมดตามลำดับ การนอนหลับที่มีคุณภาพนั้นต้องเกิดการนอนแต่ละชนิดในระยะเวลาที่เหมาะสม โดยเฉพาะ REM ซึ่งเป็นช่วงที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาของสมอง (brain development) การเกิด neuronal plasticity การเก็บความจำ (memory consolidation) และการควบคุมอารมณ์ การนอนหลับในช่วง REM จัดเป็น restorative sleep คือทำให้ได้การนอนหลับที่มีคุณภาพ ตื่นมาด้วยความสดชื่นและรู้สึกว่าได้นอนเต็มอิ่ม ดังนั้นในผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับและจำเป็นต้องใช้ยารักษานั้น หลักการที่สำคัญประการหนึ่งของการเลือกยาที่มีประสิทธิภาพคือ ยาชนิดนั้นต้องไม่มีผลลดการนอนในช่วง REM
คำสำคัญ