0 2591 9992 กด 4
ccpe@pharmacycouncil.org
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข้อบังคับ ประกาศ และคู่มือ
การประชุมวิชาการ
บทความวิชาการ
ขั้นตอนและคำขอ
ตรวจสอบหน่วยกิต
คำถามที่พบบ่อย
ติดต่อเรา
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 19 ธ.ค. 2567
บทความวิชาการ
การใช้ยาคุมอัตราการเต้นของหัวใจห้องล่างในผู้ป่วย Atrial Fibrillation ระยะเฉียบพลัน
ชื่อบทความ
การใช้ยาคุมอัตราการเต้นของหัวใจห้องล่างในผู้ป่วย Atrial Fibrillation ระยะเฉียบพลัน
ผู้เขียนบทความ
รองศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกรอรัมษ์ เจษฎาญานเมธา
สถาบันหลัก
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รหัสกิจกรรม
1017-1-000-001-04-2561
ผู้ผลิตบทความ
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การเผยแพร่บทความ
ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน
วันที่ได้รับการรับรอง
11 เม.ย. 2561
วันที่หมดอายุ
10 เม.ย. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง
3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
การดูแลผู้ป่วย atrial fibrillation (AF) มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและทุพพลภาพจากภาวะแทรกซ้อนของ AF อีกทั้งป้องกันและบรรเทาอาการที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตได้เป็นปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดี เมื่อผู้ป่วยที่อยู่ใน sinus rhythm เกิดภาวะ AF ขึ้นอย่างเฉียบพลัน สัญญาณไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจำนวนมากภายในหัวใจห้องบนจะถูกนำส่งผ่าน atrioventricular (AV) node มายังหัวใจห้องล่าง ทำให้หัวใจห้องล่างถูกกระตุ้นและบีบตัวด้วยอัตราเร็วที่มากกว่าเมื่ออยู่ใน sinus rhythm หากผู้ป่วยเกิดภาวะ AF เฉียบพลันและมีอาการรุนแรงที่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเสียชีวิต ควรหยุดภาวะ AF ที่เกิดขึ้นทันทีโดยการทำ electrical cardioversion แต่ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย สามารถให้ยาชะลอการนำส่งสัญญาณไฟฟ้าผ่าน AV node โดยยาที่แนะนำให้ใช้ก่อนเนื่องจากมีประสิทธิภาพดี คือ ยากลุ่ม beta-blockers หรือ nondihydropyridine calcium channel blockers สำหรับยา digoxin ออกฤทธิ์ช้า แต่มักเลือกใช้ในผู้ป่วย AF ที่มี left ventricular dysfunction, เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันร่วมด้วย หรือ ภาวะความดันโลหิตต่ำ สำหรับยา amiodarone มักใช้ในในผู้ป่วยที่มี left ventricular dysfunction หรือ เมื่อยาอื่นๆ ไม่สามารถคุมอัตราการเต้นของหัวใจได้อย่างเพียงพอ สำหรับผู้ป่วย Wolff-Parkinson-White กลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ยังยั้งการทำงานของ AV node รวมทั้ง amiodarone เป็นยาที่ไม่แนะนำให้ใช้ เนื่องจากเพิ่มการนำไฟฟ้าผ่าน accessory conduction pathway และทำให้เกิด ventricular fibrillation ได้
คำสำคัญ
Atrial fibrillation; Amiodarone; Beta-blocker; Calcium channel antagonist; Ventricular rate control