บทความวิชาการ
วิศวกรรมแผ่นเซลล์ต่อการประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์
ชื่อบทความ วิศวกรรมแผ่นเซลล์ต่อการประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์
ผู้เขียนบทความ อ.ภญ.ศุภลักษณ์ ไพศาล
สถาบันหลัก สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รหัสกิจกรรม 1016-1-000-006-12-2560
ผู้ผลิตบทความ สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 21 ธ.ค. 2560
วันที่หมดอายุ 20 ธ.ค. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันได้มีการบำบัดรักษาโรคโดยใช้แผ่นเซลล์ โดยเมื่อนำแผ่นเซลล์มาปลูกถ่ายในบริเวณที่ทำการรักษาจะทำให้เนื้อเยื่อในบริเวณนั้นถูกซ่อมแซมและกลับมาทำหน้าที่ได้ สำหรับวิธีการในการเลี้ยงเซลล์นั้นจะมีวิธีการที่ซับซ้อนและละเอียดอ่อน โดยเซลล์ที่ได้จะต้องมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ วิศวกรรมแผ่นเซลล์คือแผ่นเซลล์ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเซลล์โดยใช้พอลิเมอร์ที่ตอบสนองต่ออุณหภูมิมาใช้เคลือบจานเพาะเลี้ยงเซลล์ ในการเก็บเกี่ยวจะทำการลดอุณหภูมิลงทำให้พอลิเมอร์เปลี่ยนสถานะจากเจลเป็นของเหลวทำให้แผ่นเซลล์โดนดันขึ้นมา วิธีนี้มีข้อดีกว่าการเก็บเกี่ยวเซลล์แบบเดิมซึ่งใช้เอนไซม์ คือจะไม่ทำลายโปรตีนที่อยู่ระหว่างเซลล์ ทำให้เซลล์ที่ได้จากเก็บเกี่ยวโดยการใช้พอลิเมอร์ที่ตอบสนองต่ออุณหภูมิแล้วทำการลดอุณหภูมิมีความเหมาะสมกว่าวิธีการเก็บเกี่ยวเซลล์แบบเดิม ซึ่งในปัจจุบันมีพอลิเมอร์หลายชนิดด้วยกันที่ได้มีการนำมาศึกษา เช่น Poly(N-isopropylacrylamide), Methylcellulose เป็นต้น นอกจากนี้การใช้วิศวกรรมแผ่นเซลล์ยังสามารถที่จะทำการออกแบบแผ่นเซลล์ให้มีลักษณะต่างๆเพื่อให้เหมือนกับเซลล์ ณ บริเวณที่มีการนำไปใช้ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ในการรักษา สำหรับเนื้อเยื้อที่ถูกนำมาศึกษาในแง่ของการรักษาโรคแล้วได้แก่ เนื้อเยื้อเซลล์กระจกตา เนื้อเยื้อเซลล์กระดูกอ่อน เป็นต้น
คำสำคัญ
วิศวกรรมแผ่นเซลล์ (Cell Sheet Engineering)