ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
การประยุกต์ใช้ประเด็นอันตรกิริยาระหว่างยา Valproic acid กับยากลุ่ม Carbapenem ในทางคลินิก
ชื่อบทความ การประยุกต์ใช้ประเด็นอันตรกิริยาระหว่างยา Valproic acid กับยากลุ่ม Carbapenem ในทางคลินิก
ผู้เขียนบทความ อ.ภก.สิทธิพงค์ จงไกรจักร
สถาบันหลัก สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รหัสกิจกรรม 1016-1-000-003-12-2560
ผู้ผลิตบทความ สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 21 ธ.ค. 2560
วันที่หมดอายุ 20 ธ.ค. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โรคลมชัก (Epilepsy) คือ ภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการชักที่เข้าได้กับมีอาการชัก (seizure) หรือมี reflex seizure มากกว่า 2 ครั้ง โดยเกิดขึ้นห่างกันมากกว่า 24 ชั่วโมง อาการชักเกิดขึ้นโดยที่ไม่มีปัจจัยกระตุ้นชัดเจน (unprovoked factor) ได้รับการวินิจฉัยเป็นผู้ป่วยกลุ่ม epilepsy syndrome โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น Focal seizures, Generalized seizures และ Unknown ผู้ป่วยโรคลมชักจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยากันชัก ซึ่งยากันชักโดยส่วนใหญ่กำจัดยาผ่าน cytochrome P450 ที่ตับโดยอาจเป็น enzyme inducer, enzyme inhibitor หรือsubstrate ของ cytochrome P450 ชนิดต่างๆ ทำให้สามารถเกิดอันตรกิริยาระหว่างยากันชัก และยารักษาโรคอื่นๆ ได้อีกด้วย ยา Valproic acid เป็นหนึ่งในยาที่แนวทางปฏิบัติแนะนำให้ใช้เป็นยาอันดับแรกในการรักษาทั้ง Focal seizures และ Generalized seizures และเป็นยาที่มีอันตรกิริยากับยาหลายชนิดเนื่องจากเป็น enzyme-inhibiting antiepileptic drugs อีกทั้งยังสามารถเกิดอันตรกิริยากับยากลุ่ม Carbapenem โดยกลไกการเกิดอันตรกิริยาไม่เกี่ยวข้องกับ cytochrome P450 หากผู้ป่วยโรคลมชักที่รับประทานยา Valproic acid เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยการติดเชื้อ หรือมีการติดเชื้อระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาล อาจมีโอกาสได้รับยากลุ่ม Carbapenem การเกิดอันตรกิริยาจึงเป็นประเด็นสำคัญที่จะต้องจัดการ มีการศึกษารายงานว่าเมื่อผู้ป่วยได้รับยา Vaproic acid ร่วมกับยากลุ่ม Carbapenem พบว่าระดับยา Valproic acid ในเลือดของผู้ป่วยทุกรายลดลงต่ำกว่าระดับการรักษาอาจจะนำไปสู่การที่ไม่สามารถควบคุมอาการชักได้ คำแนะนำส่วนใหญ่จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงการรักษาด้วยยา Valproic acid กับยากลุ่ม Carbapenem ร่วมกัน หากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกันแนะนำให้เพิ่มยากันชักชนิดอื่นชั่วคราวในช่วงที่ได้รับยา Valproic acid ร่วมกับยากลุ่ม Carbapenem
คำสำคัญ
Valproic acid, Carbapenem, Drug interaction