บทความวิชาการ
การวัดการภาวะความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
ชื่อบทความ การวัดการภาวะความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
ผู้เขียนบทความ ภก. กฤติน บัณฑิตานุกูล
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมการตลาด (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2005-1-000-005-12-2560
ผู้ผลิตบทความ สมาคมเภสัชกรรมการตลาด (ประเทศไทย)
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 08 ธ.ค. 2560
วันที่หมดอายุ 07 ธ.ค. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ภาวะความดันโลหิตสูง หมายถึงภาวะที่ร่างกายมีค่าความดันโลหิตในหลอดเลือดแดงสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท จัดเป็นโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ โรคความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ในแต่ละปีประชากรทั่วโลกจะเสียชีวิตจากภาวะความดันโลหิตสูงประมาณ 8 ล้านคน สำหรับประชากรในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีผู้เสียชีวิตจากโรคความดันโลหิตสูงประมาณ 1.5 ล้านคนต่อปี และโรคความดันโลหิตสูงนี้ ยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเกือบร้อยละ 50 จากโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตและโรคหัวใจ สําหรับในประเทศไทย จากรายงานของสำนักโรคไม่ติดต่อพบว่า ในปี พ.ศ. 2557 จำนวนและอัตราผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจะเท่ากับ 1,711 รายต่อประชากร 100,000 คน3 ความชุกของโรคความดันโลหิตสูงในปี พ.ศ. 2557 เท่ากับร้อยละ 24.7 ซึ่งสูงกว่าการสำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2552 ซึ่งพบความชุก ร้อยละ 21.43 ความชุกของความดันโลหิตสูงจะเพิ่มขึ้นตามอายุจากร้อยละ 4.0 ในกลุ่มอายุ 15-29 ปี เพิ่มขึ้นตามลำดับจนสูงสุดในกลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไป เป็นร้อยละ 64.94 สถานการณ์ในปัจจุบันพบว่าประชากรโลกมีอายุยืนยาวมากขึ้น ทำให้มีสัดส่วนของผู้สูงอายุ ซึ่งหมายถึงผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยในประเทศไทยจากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ 4 ครั้งที่ผ่านมา พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยในปี 2537 มีจำนวนผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 6.8 ของประชากรทั้งประเทศ และเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 9.4, ร้อยละ 10.7 และ ร้อยละ 12.2 ในปี พ.ศ. 2545, พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2554 ตามลำดับ ผลการสำรวจในปี พ.ศ. 2557 พบว่าจำนวนผู้สูงอายุคิดเป็น ร้อยละ 14.9 ของประชากรทั้งหมด5 รวมทั้งมีการคาดการณ์ว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าประชากรไทยจะมีอายุยืนมากขึ้น และมีสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นุ6 จากการที่ภาวะความดันโลหิตสูงมีอุบัติการณ์เพิ่มสูงขึ้นตามอายุ ดังนั้นการจัดการภาวะความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุจึงมีความสำคัญ และหลักฐานทางวิชาการในการดูแลผู่ป่วยกลุ่มนี้ อาจยังไม่มีความชัดเจน
คำสำคัญ
ภาวะความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ