บทความวิชาการ
การคำนวณขนาดและอัตราเร็วการบริหารยาในผู้ป่วยวิกฤติ
ชื่อบทความ การคำนวณขนาดและอัตราเร็วการบริหารยาในผู้ป่วยวิกฤติ
ผู้เขียนบทความ ผศ.ภก.ธีระพงษ์ ศรีศิลป์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
รหัสกิจกรรม 1009-1-000-002-11-2560
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 30 พ.ย. 2560
วันที่หมดอายุ 29 พ.ย. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ยาที่ใช้ในภาวะวิกฤติเช่น dopamine, dobutamine, norepinephrine, nitroglycerin และ nicardipine มีการกำหนดขนาดยาที่แตกต่างกัน เช่น เป็นไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัวต่อนาที (mcg/kg/min) เป็นมิลลิกรัมต่อชั่วโมง (mg/hr) หรือเป็นไมโครกรัมต่อนาที (mcg/min) เป็นต้น แต่หากมีการกำหนดอัตราการบริหารยาผ่านเครื่องหยดยาแบบเดียวกัน คือเป็นมิลลิลิตรต่อชั่วโมง (ml/hr) ซึ่งเท่ากับไมโครดร็อปต่อนาที (mcd/min) เภสัชกรจะสามารถใช้ทักษะการเทียบบัญญัติไตรยางศ์ หรือใช้สูตรที่กำหนดว่า ขนาดยา เท่ากับความเข้มข้นของยา คูณกับอัตราการบริหารยา ในการคำนวณขนาดและอัตราเร็วในการบริหารยาได้ การคำนวณขนาดและอัตราเร็วในการบริหารยาอย่างถูกต้องจะช่วยค้นหา ป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการกำหนดขนาดยาในผู้ป่วยภาวะวิกฤติได้
คำสำคัญ