0 2591 9992 กด 4
ccpe@pharmacycouncil.org
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข้อบังคับ ประกาศ และคู่มือ
การประชุมวิชาการ
บทความวิชาการ
ขั้นตอนและคำขอ
ตรวจสอบหน่วยกิต
คำถามที่พบบ่อย
ติดต่อเรา
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 19 ธ.ค. 2567
บทความวิชาการ
ภูมิคุ้มกันบำบัดในโรคมะเร็งท่อน้ำดีระยะลุกลาม
ชื่อบทความ
ภูมิคุ้มกันบำบัดในโรคมะเร็งท่อน้ำดีระยะลุกลาม
ผู้เขียนบทความ
รองศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร. ณัฎฐดา อารีเปี่ยม
สถาบันหลัก
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม
1001-1-000-007-11-2567
ผู้ผลิตบทความ
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การเผยแพร่บทความ
ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน
วันที่ได้รับการรับรอง
28 พ.ย. 2567
วันที่หมดอายุ
27 พ.ย. 2568
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง
2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
มะเร็งท่อน้ำดี (Cholangiocarcinoma) เป็นมะเร็งที่พบได้ไม่บ่อยนักเมื่อเทียบกับมะเร็งชนิดอื่น ๆ โดยคิดเป็นสัดส่วนเพียงประมาณ 3% ของมะเร็งทางเดินน้ำดีทั้งหมดทั่วโลก อุบัติการณ์การเกิดมะเร็งท่อน้ำดีมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในแต่ละภูมิภาคของโลก ในประเทศทางตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกาและยุโรปมีอัตราการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีค่อนข้างต่ำ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 0.3-3.5 ต่อประชากร 100,000 คนต่อปี ขณะที่ในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ เช่น ประเทศไทย เวียดนาม ลาว และกัมพูชา มีอัตราการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีสูงกว่ามาก เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ (Opisthorchis viverrini) และปัจจัยสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่มีอุบัติการณ์มะเร็งท่อน้ำดีสูงที่สุดในโลก โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียง เหนือของประเทศที่ประชาชนส่วนมากมีพฤติกรรมการบริโภคปลาน้ำจืดดิบ ซึ่งเป็นพาหะของพยาธิใบไม้ตับ อุบัติการณ์ในภาคนี้อาจสูงถึง 85 ต่อประชากร 100,000 คนต่อปี โดยเฉพาะในจังหวัดมหาสารคาม ขอนแก่น และอุดรธานี ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติระบุว่า ในประเทศไทยมะเร็งท่อน้ำดีเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบบ่อยในผู้ป่วยมะเร็งทางเดินน้ำดี โดยมีผู้ป่วยใหม่ประมาณ 14,000-20,000 รายต่อปี และเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตจากมะเร็งในชายและหญิงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ
ทราบกลไกการออกฤทธิ์และความแตกต่างของกลไกการออกฤทธิ์ของยาภูมิคุ้มกันบำบัดที่ใช้ในการรักษามะเร็งท่อน้ำดีระยะลุกลาม